ตุลาคม 16, 2021

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 52 : รอยยิ้มของอาชญากร ต่างจากคนปกติ…หรือไม่ ?

สมคิด พุ่มพวง ภาพจากสำนักข่าวโพสทูเดย์ ลิ้ง

การยิ้มที่แท้จริง (Real smile , duchenne smile) เป็นภาษากายที่สื่อถึงความสุข (Happiness) ถ้าใครยิ้มที่ครบองค์ประกอบตามกายภาพก็จะสื่อความหมายว่าเจ้าตัวกำลังมีความสุขในช่วงขณะนั้น

  • ทั้งนี้ ถ้าเราพบคนหนึ่งกำลังยิ้มอย่างมีความสุขหลังจากที่เขาเห็นเหตุการณ์รถชนและมีคนเสียชีวิตละ ?
  • หรือดูข่าวทีวีและมีข่าวภัยพิบัติมีผู้เสียชีวิตเยอะ และเขาดูไปก็ยิ้มไป
  • คุณจะรู้สึกยังไงกับคนๆนั้น ?
  • ถ้าเป็นตามที่ระบุข้างบน เราจะต้องคึดให้ลึกว่าทำไมเขายิ้มแบบนั้น และในใจเขาคิดอะไร ?

ในหลายครั้งการยิ้มอย่างมีความสุขนี้อาจเกิดขึ้นกับคนที่กระทำความผิดก็ได้ (Duping delight) เพราะเจ้าตัวอาจจะมีความสุขกับความผิดที่ตนได้ก่อ หรือ มีความสุขที่เห็นผู้อื่นเดือดร้อน ร้อนรนหรือเสียใจ หรือรู้สึกสนุกและตื่นเต้นกับการทำสิ่งที่ผิดกฎหมายและศีลธรรม

เพราะฉะนั้นคำว่า “ความสุข” ไม่ได้มีความหมายเชิงบวกในทุกกรณีมันขึ้นอยู่กับว่า “ทำอะไร หรือ คิดอะไร แล้วถึงมีความสุข”

ความรู้สึกนึกคิดของอาชญากรหลายครั้งไม่ตรงไปตรงมาเหมือนบุคคลปกติทั่วไป และเราจะใช้วิธีคิดในแง่มุมเดียวกันไม่ได้ อาชญากรจะมีชุดความคิดเฉพาะของเขา (Mindset) และการให้คุณค่าของที่เขาสร้างขึ้นเองอย่างที่อธิบายไม่ได้ด้วยตรรกะของคนในสังคมทั่วไป

เช่น ในกรณีสมคิด พุ่มพวง เขาไม่ได้รู้สึกเสียใจใดๆกับเหยื่อที่ตนได้ลงมือฆาตกรรม และยังบอกอีกว่าเขาได้กระทำสิ่งที่ถูกต้องแล้วเพราะคนเหล่านั้นสมควรตาย

จุดที่เราสามารถสังเกตและเอาไปสอนลูกสอนหลานได้ คือรอยยิ้มที่ผิดบริบท (Smiling out of context) คือรอยยิ้มของใครบางคนในสถานการณ์ที่ควรแสดงความเสียใจ เศร้าสร้อยหรือ ตกใจ แต่กลับยิ้มอย่างมีความสุข เพราะมันสะท้อนได้ว่าเจ้าตัวอาจจะมีทัศนคติและความคิดอะไรบางอย่างที่ไม่เหมือนคนทั่วไป

ทั้งนี้ ไม่ใช่ทุกรอยยิ้มที่ผิดบริบทจะแปลว่าคนๆนั้นจะเป็นคนผิดปกติ แต่เป็นหนึ่งในหลายภาษากายที่สามารถสังเกตได้ง่าย

สมคิด พุ่มพวง ภาพจากสำนักข่าวโพสทูเดย์ ลิ้ง
ภาพจาก tawannews ลิ้ง

ในภาพ คุณสมคิด พุ่มพวง ถูกจับกุมในข้อหาฆาตกรรม และถูกนำออกมาจากห้องขังเพื่อสอบปากคำเพิ่ม และนี่คือสีหน้าของเขาเมื่อพบนักข่าวและผู้คนที่ยืนอยู่รอบๆ สภ.กระนวน จ.ขอนแก่น จะเห็นว่าเจ้าตัวยังสามารถยิ้มได้แม้ในสถานการณ์ที่ตรึงเครียด มีผู้คนนับร้อยมารอรุมประชาทัณฑ์และด่าทออย่างรุนแรง

Teen caught smiling during sentencing in murder of Ann Arbor student

อันนี้เป็นตัวอย่างอีกเคสของอาชญากรที่ยังเป็นแค่วัยรุ่นได้ฆ่านักเรียนมัธยมปลายคนหนึ่งโดยการใช้ปืนยิงที่หัว ระหว่างที่มารดาของผู้เสียชีวิตกำลังขึ้นพูดให้การในศาล เขานั่งอยู่ในคอกโดยลูบมือและแสยะยิ้ม (Smig smile) ดังภาพ มันสะท้อนได้ชัดเจนว่าเขาไม่มีความรู้สึกเสียใจหรือละอายในสิ่งที่ตัวเองทำลงไปแม้แต่น้อย (และศาลพิพากษาไม่ลดโทษ เพราะเห็นภาษากายที่น่าหมั่นใส้เช่นนี้)

กลุ่มคนพวกนี้เป็นกลุ่มคนที่น่ากลัว และมักมีอารมณ์และความคิดที่แตกต่างไปจากคนปกติทั่วไป การเรียนรู้ภาษากายก็จะช่วยให้เราสามารถสังเกตรายละเอียดและตั้งคำถามถึงสิ่งที่พบเห็นได้ลึกขึ้นกว่าคนทั่วไปมอง และช่วยให้เราหลีกหนีและเอาตัวรอดจะบุคคลบางกลุ่มที่อันตราย

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

2 Responses

  1. Anakin พูดว่า:

    ไม่ได้รู้สึกผิดใดๆ กระทำความผิดซ้ำซาก น่าจะใช้ความรู้พวกนี้มาตัดสินโทษให้กับอาชญากรด้วยนะครับ อย่างของไทย ก็ลดหย่อนผ่อนโทษ ปล่อยออกมาตามวาระ ไม่เห็นจะใช้หลักจิตวิทยาตรวจสอบนักโทษเลย ว่าพร้อมที่จะกลับสุ่สังคมได้จริงหรือยัง

    • admin พูดว่า:

      เห็นด้วยครับ บางคนไม่เหมาะจริงๆที่จะกลับมาสู่สังคม เพราะไม่ได้รู้สึกผิด และพร้อมจะกระทำความผิดซ้ำซาก แต่ก็เข้าใจสภาวะคนล้นคุกและการทำงานแบบ overload ของเจ้าหน้าที่รัฐ ยังเป็นปัญหาที่แก้ยากอยู่ครับ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *