กรกฎาคม 29, 2021

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 38 : ภาพคุณประยุทธ์ และรมต.ร่วมรัฐบาล นั่งชิวริมทะเลภูเก็ต

ประยุทธและทีมงานนั่งพูดคุยสนุกสนามริมทะเล 1 กรกฎาคม 2564 เครดิตภาพ Voice TV

ภาพเหล่าคณะรัฐมนตรีบางส่วนนั่งริมทะเลและพูดคุยกันอย่างสนุกสนามตามภาพข่าวที่ปรากฎ (ลิ้ง) เป็นภาพที่ประชาชนไม่พอใจมากๆ เพราะสภาพประเทศ ณ เวลานั้น คือ มีคนป่วยใหม่จากโควิดหลักพัน คนตายหลายสิบคน (ถ้าภาพนี้ปรากฎออกไปในสภาวะบ้านเมืองปกติคงไม่เป็นดราม่าแน่นอน )

ภาพนี้พี่สบู่ แฟนคลับที่ติดตามเวปไซด์ของผมมาอย่างยาวนานส่งมาให้และฝากถามผมมาว่า การที่คุณประยุทธนั่งเอาแขนพาดพนักเก้าอี้จะสามารถอธิบายในเชิงภาษากายอะไรได้บ้าง ?

ท่านั่งนี้เป็นทางนั่งแบบ Hyper Alpha คือ มั่นใจสูง เป็นภาษากายที่แสดงถึงความมั่นใจ (Confident)ความเหนือกว่า (Supriority) มีอำนาจ (Dominance/Authority)อาจจะนั่งพาดแขนเดียว หรือ สองแขนก็ได้ และมักบางครั้งพบคู่กับนั่งไขว่ห้าง (แต่ภาพนี้ประยุทธ์ไม่ได้ไขว่ห้าง)

อยากให้สังเกตุว่าวงนี้มีคุณประยุทธ์เพียงคนเดียวที่นั่งท่านี้ แต่คนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคุณอนุพงษ์ อนุทิน สุชาติ วรวุฒิ และคุณพิพัฒน์ ก็นั่งในท่านั่งที่ Beta กว่า ตอนที่ผมเห็นภาพนี้ผมก็เดาออกตั้งแต่แรกว่าคนไหนคือคุณประยุทธ์โดยที่ไม่เห็นหน้าเลยด้วยซ้ำ เพราะเราล้วนทราบดีกว่าคุณประยุทธ์เป็นคนมีบุคลิกอย่างไรโดยเฉพาะการแสดงออกเชิงอำนาจ ท่านั่งนี้ก็ถือว่าสอดคล้องกับบุคลิกพื้นฐานของคุณประยุทธ์

เราจะคุ้นเคยกับท่านั่งแบบนี้ในพวกหนังมาเฟีย ที่หัวหน้าแก้ง หรือ ตัวร้ายมักจะนั่ง เพื่อโชว์อำนาจ เช่นภาพที่แสดงด้านล่างนี้

และถ้าตั้งคำถามต่ออีกหน่อยว่า เราควรนั่งท่านี้ไหม ? ท่านี้เหมาะในโอกาสใด ?

ท่านี้จะเหมาะในบางโอกาสคือถ้าคุณจะต้องแสดงบุคลิกเชิง Alpha ออกมา เช่นการข่มคน การแสดงอำนาจ หรือ แสดงความมั่นใจ แต่ทั้งนี้ท่านั่งนี้อาจะมีความหมายไปในทางลบ (negative) เพราะอาจทำให้ดู กร่าง ยะโสโอหัง จึงไม่ควรเผลอนั่งต่อหน้าหัวหน้า ผู้ใหญ่ที่ต้องให้ความเคารพ การนั่งในวงประชุมที่เป็นทางการมากๆ หรือ สัมภาษณ์เพื่อสมัครงานโดยเด็ดขาด

แต่ถ้าคุณเป็นนายกรัฐมนตรีและนั่งต่อหน้าลูกน้องริมทะเลผมว่าท่านี้ก็ไม่ได้เสียหายอะไร จะพาดทั้งสองแขนและปลดกระดุมโชว์พระเครื่องก็ยิ่งเท่ห์ อิอิ ทั้งนี้อย่าลืมรีบกลับมาควบคุมสถานการณ์โควิดให้ด่วนๆหน่อยนะครับ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *