กรกฎาคม 7, 2021

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 34 : ศ.พญ.กุลกัญญา สัมภาษณ์เกี่ยวกับ ซิโนแวค

คนทั้งประเทศเกลียดซิโนแวค แต่มีหมอยงและศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ที่ยังสนับสนุนและเชียร์ซิโนแวคอยู่ สวนทางกับกลุ่มแพทย์และประชาชนที่แสดงความเห็นผ่านโลกโซเชี่ยวที่ด่ากันโครมๆ

ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ เป็นหนึ่งในหัวเรือทีมที่เป็นที่ปรึกษาในการดำเนินงานเกี่ยวกับโควิดที่ระบาด และเป็นคนหนึ่งที่ประชาชนและกลุ่มแพทย์บางกลุ่มไม่พอใจในประเด็นการสนับสนุนวัคซีนให้ฉีด ซิโนแวค เพราะเป็นที่รู้กันว่าเป็นวัคซีนที่ผลิตจากประเทศจีนที่มีคุณภาพต่ำกว่าวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ เช่น ไฟเซอร์ หรือ มาเดอน่า

คลิปวีดิโอนี้น่าสนใจเพราะตั้งคำถามเกี่ยวกับวัคซีน ซิโนแวค กันตรงๆ และสัมภาษณ์ตัวต่อตัวเลย ในบทเรียนนี้ผมก็เลยจะมาถอดรหัสภาษากายของ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ กันสักหน่อย

ทั้งนี้ ด้วยการใส่ผ้าแมสของ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ทำให้มีข้อจำกัดในการอ่านภาษากายบ้าง แต่ผมคิดว่าก็ยังมีข้อมูลมากพอให้เราได้มาศึกษาร่วมกัน

ภาษากายคือข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว จึงเป็นชุดของข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้ตีความว่าส่วนตัวเราจะให้ระดับความความเชื่อถือกับเหตุการณ์ที่ปรากฎอย่างไรเท่านั้น การวิเคราะห์ภาษากายจึงไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินว่าใครโกหกหรือหลอกลวง

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
3:15 Hard swallowing (*)
Diminished eye contact (**)
increase blinking rate

นาที 3:15 ถึง 3:30 จะพบภาษากายเป็นกลุ่มใหญ่ (Cluster) ช่วงที่ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ อธิบายซึ่งวัคซีนซิโนแวค

“เราจะเห็นตัวเลขจำนวนมากเลยว่า วัคซีนที่ (*) อาจจะคน ไม่..ไม่..(**) ไม่ไว้วางใจเท่าไหร่ ว่าประสิทธิภาพจะดีหรือเปล่า เพราะอาจจะสร้างระดับภูมิคุ้มกันเอนที (***)ได้ไม่สูงมากเนี่ย ก็สัมพันธ์กับประสิทธิภาพ (****) ที่ว่า…โอเค อาจจะป้องกันการติดเชื้อ

  • (*)กลืนน้ำลายก้อนใหญ่ (Hard swallowing)
  • (**)มองต่ำไปทางซ้าย (Diminished eye contact)
  • (***)กระพริบตารัวและถี่มาก (increase blinking rate)
  • (****)กระพริบตารัวและถี่มาก (increase blinking rate)

กลืนน้ำลายก้อนใหญ่ (Hard swallowing) การกลืนน้ำลายก้อนใหญ่มักพบเวลามีอาการตื่นเต้น เครียด และหวาดกลัว จึงสัมพันธ์กับการเก็บอั้นอารมณ์ลบและจะชัดเจนและถี่มากยิ่งขึ้นตามความรุนแรงของอารมณ์ สามารถอธิบายจากการร่างกายจะลดการทำงานของระบบย่อยอาหารทำให้ลดการหลั่งน้ำลายและน้ำย่อย น้ำลายจะเหนียวและข้นทำให้ต้องพยายามกลืนน้ำลายจนเห็นการเคลื่อนไหวของลูกกระเดือกที่ลำคออย่างชัดเจน พร้อมกับกล้ามเนื้อบริเวณคอจะมีการหดเกร็งกว่าในสภาวะปกติ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากความผิดปกติที่เรียกว่าภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)

คุณหมอหลบตา (Diminished eye contact) (**) ช่วงที่พูดถึงว่าประชาชนไม่ไว้ใจวัคซีนตัวนี้ และมีพูดติดๆขัดๆด้วย การหลบตานี้เป็นกลไกที่สั่งงานมาจากสมองส่วนกลางซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก สัมพันธ์กับความกลัว ความไม่มั่นใจ หรือประหม่า

อีกสองจุดคือ (***) และ (****) คุณหมอจะกระพริบตาถี่ๆรัวๆ

อัตราการกระพริบตาในสภาวะปกติที่เราอยู่ผ่อนคลาย (Relax) มีค่าเฉลี่ยปกติ 12-22 ครั้ง/นาที ลิ้ง ทั้งนี้ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ มีอาการกระพริบตาถี่บ่อยมากตลอดการสัมภาษณ์ และไม่ใช่ถี่แบบธรรมดา และแต่กระพริบรัวๆสั้นๆหลายครั้งใน 1 วินาที (increase blinking rate/Rapid eyes blinking)

การกระพริบตาถี่บางครั้งอาจสัมพันธ์กับการระคายเคืองตา ตาแห้ง หรืออาการแพ้ แต่ในกรณีของเคสนี้ คุณหมอท่านไม่ได้ยกมือขึ้นมาขยี้ตาเลยสักครั้งตลอดช่วง 20 นาทีของการสัมภาษณ์ หรือ การหยี๋ตาก็ไม่พบ จึงอาจจะบอกได้ว่าการกระพริบตาถี่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากความผิดปกติที่กล่าวมา แต่อาจเป็นการตอบสนองของร่างกายจากความตื่นเต้น ซึ่งจะพบได้บ่อยเวลาคนถูกสัมภาษณ์ การออกมารายงานหน้าชั้นเรียน หรือ อยู่ในสภาวะที่เครียดและบีบคั้น เช่น กำลังโกหก ปกปิดความจริง หรือกำลังปั้นแต่งเรื่องราว

3:45 Finger point hand chop

หลายครั้งในการสัมภาษณ์ คุณหมอจะใช้นิ้วชี้ตอนพูดบ่อยๆ เป็นภาษากายที่พบบ่อยเวลาคนเราต้องการเน้นย้ำ โน้มน้าวให้คนอื่นเชื่อมากๆ อยากให้ระลึกว่าการพูดความจริงเป็นคนละประเด็นกับการพยายามโน้มน้าวให้คนเชื่อ ภาษากายของอาจารย์จะค่อนข้างสับสนแต่ตีรวนอาจเป็นเพราะสิ่งที่อยู่ในใจจริงๆกับสิ่งที่จะต้องพูดนั้นไม่สอดคล้องกัน

7:22 Slightly shaking head

นาที 7:22 ตอนที่คุณหมอพูดว่า “ในการหาวัคซีนมาให้หลากหลายที่สุดเนี่ย เราประสบความสำเร็จแค่ อ่า..(*).แค่สองชนิด…ที่มีใช้”

สังเกตุได้ว่าคุณหมอส่ายหัวเล็กน้อย (Slightly shaking haed) ภาษากายนี้แปลว่าอะไร ?

อย่างที่ผมเคยย้ำบ่อยๆว่าถ้าในใจคิดอย่างหนึ่ง แต่เราต้องฝืนพูดอีกอย่าง หรือ ตรงกันข้ามเรามักจะพบภาษากายที่ขัดแย้งกันบ่อยๆ (Paradoxical) ถ้าคุณหมอรู้สึกอย่างที่พูด (เราประสบความสำเร็จ) ภาษากายของคุณหมอน่าจะปรากฎในลักษณะที่ positive เช่น พยักหน้า เอียงหน้า หรือมีสีหน้าของความมั่นใจ แต่สิ่งที่เราพบในนาทีที่ 7:22 คือการส่ายหน้า

Long Duration of Head shaking

นาที 9:52 – 9:57 เป็นช้อตเด็ดในการสัมภาษณ์ครั้งนี้

ตอนอาจารย์พูดถึงซิโนแวค ว่า “มัน(ซิโนแวค)ทะลุเกณฑ์ที่ป้องกันโรคได้ไหม (*) อันนี้เรามั่นใจว่ามันป้องกันโรคได้แน่”

สังเกตุว่า ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ ส่ายหน้าตลอดนาน 4 วินาที ซึ่งนานกว่าภาษากายก่อนหน้ามากๆ คุณคิดว่าอาจารย์ส่ายหน้าทำไม ? อย่างที่ผมบอกก่อนหน้าเป๊ะ คือ ในประโยคนี้ด้วยคำพูดอาจารย์ควรจะต้องแสดงความมั่นใจออกมา (Alpha status) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือกลับส่ายหน้าแถมนานถึง 4 วินาที ผมอยากให้คุณกดดูวีดิโอ มันชัดมากจนไม่รู้จะชัดขนาดไหน ชนิดใส่แมสสองชั้นก็ปิดไม่มิด

อยากให้ลองเปรียบเทียบกับ คุณ สุวิทย์ เมษินทรีย์ เมื่อพูดถึงคุณประยุทธ์ จันทร์โอชา เขาก็ส่ายหน้าเหมือนกัน

ความขัดกันของคำที่พูดและภาษากาย สามารถอธิบายด้วยทฤษฐีการรับรู้ที่ไม่ลงรอย (cognitive dissonance)

Diminished eye contact

นาที 11:54 ตอนพูดถึงประเทศจีน ในประโยค “นอกจากนี้..อ่า….ในประเทศจีนเอง ในบางพื้นที่” จะพบ Diminished eye contact และ Rapid eyes blinking ซึ่งมักแสดงถึงการปกปิด โกหก ไม่มั่นใจ หรือ กำลังสร้างคำที่จะพูด

สรุปภาษากายของ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ

  • ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ แสดงภาษากายบ่งบอกว่า มีความเครียด/กังวลเมื่อพูดถึงซิโนแวค
  • ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ แสดงภาษากายบ่งบอกว่า มีความอึดอัดใจเมื่อพูดถึงการที่ประชาชนรังเกียจซิโนแวค
  • อาจารย์ไม่ได้รู้สึกว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จในการจัดหาวัคซีนจากการส่ายหน้าตอนพูดในนาทีที่ 7:22
  • อจารย์ไม่ได้มั่นใจว่าซิโนแวคจะป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในนาทีที่ 9:52 – 9:57

ทั้งนี้ผมเสียดายนิดหน่อยที่พิธีกรไม่ได้ถามว่า “แล้วทำไมไม่วางแผนสั่งซื้อไฟเซอร์มาตั้งแต่แรกละครับ” ซึ่งเป็นคำถามที่คนทั้งประเทศไทยสงสัยและอยากได้ยินความจริงจากอาจารย์

ส่วนตัวผมคิดว่าอาจารย์รู้ความจริงทุกอย่าง และรู้ลึกด้วยแต่เป็นที่รู้กันว่าบางอย่างก็คงพูดออกอากาศไม่ได้

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ

หมอมด (ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์) 

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

2 Responses

  1. สิงหาคม 5, 2021

    […] ลองดูท่านั่งของคุณผู้ชายด้านซ้ายมือของรูปคุณคิดว่าเขารู้สึกยังไงระหว่างที่ ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ พูดชี้แจงว่าซิโนแวค ดียังไง (บทวิเคราะห์ตัวเต็มของ ศ.พญ.กุลกัญญา… […]

  2. สิงหาคม 12, 2021

    […] ความขัดกันของคำที่พูดและภาษากาย สามารถอธิบายด้วยทฤษฐีการรับรู้ที่ไม่ลงรอย (cognitive dissonance) อีกเคสที่ชัดคือ เคสที่34 ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ […]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *