มิถุนายน 3, 2021

ถอดภาษกายเคสที่ 31 : สังเกตลุงพลเมื่อถูกสัมภาษณ์ที่หมู่บ้านในรายการโหนกระแส

มีแฟนคลับที่ติดตามเวปไซด์ได้ขอให้ผมถอดรหัสภาษากายของลุงพลให้หน่อย

ส่วนตัวผม ที่ผ่านมาก็ไม่ได้ให้ความสนใจลุงพลเท่าไหร่ เพราะว่าสังคมให้ความสนใจเยอะแล้วและเรียนตามตรงว่าหลายๆอย่างดูไม่เป็นสาระ

ลุงพลเป็นผู้ต้องหาที่สังคมหลายคนเชื่อว่าเขาบริสุทธิ์ และเชียร์กันออกหน้าขั้นสุดจนกลายเป็นเซเลปฟองสบู่ที่ดังกว่านักร้องนักแสดง (เป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่น่าศึกษาเรียนรู้ว่าเราพลาดอะไรกันไป)

แต่พอวันนี้ลุงพลกลายเป็นอาชญากรตามหมายจับของตำรวจรอสู้คดีในศาลชั้นต้นกับคดีการเสียชีวิตของหลานสาวพร้อมกับการร้องขอจากแฟนคลับของผม ก็เลยอยากเอามาวิเคราะห์กันสักหน่อย

บทวิเคราะห์ภาษากายบทเรียนนี้จึงเป็นแนวย้อนหลัง (Retrospective) คือ ณ วันนี้เราทราบเรียบร้อยว่าลุงพลเป็นผู้ต้องหา ทำให้เราเดาได้ว่าที่ผ่านมาในอดีตลุงพลอาจมีการโกหก ปิดบัง และพูดความจริงไม่ครบไม่มากก็น้อยในแต่ละคลิปสัมภาษณ์

เรามาดูกันนะครับว่าลุงพลมีอะไรให้ตาผิด และทำไมสังคมถึงพลาดไปมุ่งเป้าและมองว่าเขาบริสุทธิ์กันมากมาย

4:23 – 5:17 Lack of eye contact

4:23 – 5:17 เป็นช่วงที่ลุงพลอธิบายเหตุการณ์ที่ตัวเองต้องไปวัดและพระที่วัดบอกว่าลุงพลทราบข่าวน้องชมพู่หาย ตลอดระยะเวลาลุงพลพูด จะสังเกตได้ว่าเขาไม่มองตาคู่สนทนารอบๆเลย (Lack of eye contact) ไม่ว่าจะเป็นคุณหนุ่มกรรชัย และคุณตาคุณยายที่นั่งถัดไป ลุงพลมองพื้น มองหญ้า มองมดและแมลงตรงหน้าและอธิบายยาวเหยียดไม่หยุด และอยากให้สังเกตตลอดการสัมภาษณ์ทั้งรายการ ลุงพลแทบไม่มองตาคู่สนทนาเลย แตกต่างจากคุณตา คุณยายและป๋าแต๋นที่มองหน้าตอบคุณหนุ่มกรรชัยได้สบายๆ

ผมอยากอธิบายความกังวลใจของคนที่กำลังโกหกอยู่ว่าเขาจะมีอะไรบ้างในใจ อาทิเช่น

  • กลัวถูกจับได้ว่ากำลังโกหก
  • กลัวคนอื่นไม่เชื่อสิ่งที่ตัวเองกำลังพูดโกหก
  • กลัวตัวเองแสดงไม่แนบเนียน กลัวว่าจะดูไม่สมจริง
  • กลัวว่าตัวเองจะโกหกพลาดในเนื้อหา หรือ ข้อมูลที่พูดออก
  • กลัวว่าคนอื่นจะมองออกว่าตัวเองตื่นเต้น

จะเห็นได้ว่าการเป็นนักโกหกที่ดีนั้นไม่ง่าย เพราะนอกจากจะต้องทำให้อีกฝ่ายเชื่อในสิ่งที่เราพูด ยังจะต้องปกปิดอารมณ์และความรู้สึกที่แท้จริงด้วย ซึ่งสิ่งนี้น้อยคนนักที่จะทำสำเร็จ

ในกรณีของลุงพล แกใช้สไตล์คำพูดที่แน่น ขึงขัง ดุดัน อาจใช้ลักษณะเหล่านี้เพื่อกลบอารมณ์กลัวและตื่นเต้น ซึ่งถ้าแกโกหกก็แปลว่ากำลังพยายามแสดงให้คนอื่นเชื่อว่าบริสุทธิ์ ลุงพลทำแบบนี้ประจำเป็นเอกลักษณ์ของแกทำให้คนกลุ่มหนึ่งเชื่อสนิทใจ

กลับมาที่การไม่มองตาคู่สนทนา ในภาษากายและทางจิตวิทยาอธิบายได้ว่าสมองส่วนกลางอยู่ในอารมณ์กลัว (Fear) ทำให้สมองไม่กล้ามองตาคู่สนทนาและมองเฉียงลงพื้นแทนเพราะสมองจะรู้สึกปลอดภัยกว่า จะพบเสมอในคนที่กำลังโกหก

แต่ต้องแยกให้ออกกับคนที่คนเขินอาย หรือ กลัวจากสาเหตุอื่น เช่น กลัวการสัมภาษณ์ ก็จะแสดง lack of eye contact ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นห้ามใช้การไม่สบตาคู่สนทนาเป็นเหตุผลที่จะฟันธงว่าใครโกหก แต่จะต้องประกอบด้วยภาษากายอื่นร่วมด้วยเสมอ

ทั้งนี้ ในบางคนที่โกหกเก่งๆเขาจะรู้ตัวดีกว่าการหลบตา และ ไม่สู้หน้าจะทำให้อีกฝ่ายระแคะระคาย จึงเลือกที่จะจ้องตาสู้อีกฝ่ายก็มี

5:17 เม้มปาก inward lip roll
5:17 ลิ้นงู Loose tongue jut

ในนาที 5:17 ลุงพลพูดว่า “อะไรที่ท่าน(พระอธิการ)ไม่แน่ใจ ท่านควรจะบอกว่าไม่แน่ใจ แต่ท่านยังยืนยันว่า ผู้รู้ว่าน้องชมพู่หาย(*)” พอสิ้นประโยคลุงพลแสดงภาษากายที่สำคัญ คือ เม้มปาก (inward Lip roll) และลิ้นงู (Loose Tongue jut) ต่อเนื่องกัน

การเม้มปากเป็นภาษากายที่เกิดโดยปราศจากการบังคับโดยเจ้าตัว (Subconcious) จะสัมพันธ์กับการสะกดอารมณ์ลบ หรือ กลั้นอารมณ์ลบที่เกิดขึ้น (Conceling strong negative emotion) เช่น การกลั้นอารมณ์เสียใจก็จะพบได้

ธรรมชาติของมนุษย์เราในสภาวะปกติธรรมชาติที่ไม่ได้อยู่ในสภาวะเครียดหรือไม่มีอารมณ์รุนแรงจะไม่แสดงภาษากายอันนี้ออกมา แต่จะพบบ่อยในคนที่กำลังโกหกและกำลังคุมอารมณ์ลบของตนเองอยู่

การเม้มปากของลุงพลจะต่อเนื่องกับการแลปลิ้นคล้ายเลียริมฝีปาก (ลิ้นงู/Loose tongue jut) แต่เป็นภาษากายมักพบบ่อยเวลากำลังคิดหรือกำลังพูดในสิ่งที่ตนคิดว่าไม่ดี พบได้บ่อยในคนที่กำลังโกหก ปิดบัง หรือเล่าความจริงที่บิดเบือน เติมแต่ง (ซึ่งล้วนก็เข้าข่ายโกหก) หรือการพูดความจริงแต่เป็นสิ่งที่ตนเองทำไม่ดีเอาไว้ ประยุทธ์ จันทรโอชาก็แสดงภาษากายอันนี้ออกมาตอนพูดโกหกว่ากำลังติดต่อสั่งไฟเซอร์ให้ประชาชน ซึ่งเป็นเคสถอดรหัสภาษากายอีกเคสที่ผมได้ทำไว้ ลองกด link ดูได้เลยจะพบว่าเหมือนกัน

6:21 loose tongue jut + Lack of eye contact

นาที 6:21 ลุงพลพูดถึงนายวัชรินทร์ว่า “ผมจำวันไม่ได้ ผมจำเวลาไม่ได้ ผมก็เลยไม่ได้ให้ปากคำกับเจ้าหน้าที่ (*)” ลุงพลก็แสดงลิ้นงู (Loose tongue jut) และตลอดช่วงที่พูดก็หลีกเลี่ยงที่จะสบตากับคนพูด (Lack of eye contact)

9:47 เม้มปาก inward lip roll

จังหวะนี้ เป็นหนึ่งจังหวะที่ผมคิดว่าต้องจับตามองมากที่สุด

นาที 9:47 ป้าแต๋นพูด “ชมพู่จะสนิทกับป้ามากกว่า ทุกครั้งที่ป้ามารับชมพู่ ก็จะไปกับป้า แต่พอถึงบ้านปั๊บชมพู่จะบอกเลย จะถามหาลุงก่อน (*) ลุงเด๋ๆ” จะสังเกตลุงพลเม้มปาก inward lip roll (อีกแล้ว) และครั้งนี้เป็นจังหวะเดียวกับที่ป้าแต๋นพูดถึงน้องชมพู่

บางครั้งการเม้มปากเฉยๆโดดๆ อาจจะดูไม่มีเหตุผลหรือสาระอะไร แต่ถ้าเป็นจังหวะที่เกิดขึ้นหลังจากคำพูดบางคำพูด หรือ ประโยคบางประโยค จะเป็นสัญญาณไฟแจ้งเตือนให้เราสงสัยว่าทำไมลุงพลจู่ๆเกิดอารมณ์อะไรบางอย่างถึงขั้นต้องกลั้นไว้ในวินาทีนั้น

11:04 ลิ้นงู loose tongue jut

ลุงพลพูดว่า “พ่อน้องชมพู่นำกระเป๋าที่เตรียมไว้มายื่นให้กับผม(*)” ลุงพูดแสดงลิ้นงู (Loose tongue jut) เป็นภาษากายที่มักพบบ่อยเวลากำลังคิดหรือกำลังพูดในสิ่งที่ตนคิดว่าไม่ดี พบได้บ่อยในคนที่กำลังโกหก ปิดบัง หรือเล่าความจริงที่บิดเบือน เติมแต่ง (ซึ่งล้วนก็เข้าข่ายโกหก) หรือการพูดความจริงแต่เป็นสิ่งที่ตนเองทำไม่ดีเอาไว้

15:19 เม้มปาก inward lip roll

นาที 15:19 คุณนริน ได้บอกว่าตนไม่ได้สงสัยอะไรลุงพล ทำให้ลุงพลมีรอยยิ้มเกิดขึ้นแลกยกมือไหว้คุณนริน และสักพักลุงพลก็เม้มปากอีกครั้ง (inward lip roll) แสดงถึงการพยายามกดหรือซ่อมอารมณ์ลบ (Concealing strong negative emotion)

ตั้งแต่นาทีที่ 16 ในวีดิโอเป็นต้นไป เป็นส่วนที่น่าสนใจ เป็นจังหวะที่ลุงพลพูดจาเสียงแข็งว่าจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์พร้อมท้าทายญาติโดยการลากให้คนอื่นมามีส่วนร่วมในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ด้วยกัน ซึ่งในจังหวะนี้น่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้คนในสังคมไทยเชื่อลุงพล เพราะแลดูเป็นคนจริงจังดูมาดแมน ลุงพลแสดงบทนี้หลอกคนได้สำเร็จ แต่ภาษากายเขามีหลายจุดที่ขัดแย้งมากมายให้เราจับผิด

16:07 ลิ้นงู loose tongue jut

นาที 16:07 ลุงพลพูด “ถ้าจะสาบานจริงๆนะ สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด คือพระแก้วมรกต (*)” ลุงพลก็ทำลิ้นงู (Loose tongue jut) อีกครั้ง

16:13 เม้มปาก inward lip roll + Hard swallowing
16:26 ลิ้นงู loose tongue jut

16:13 “ไปที่กรุงเทพเลย ญาติพี่น้องมา (*) (หยุดไป 2 วินาที) เอาอย่างงั้นเลยครับ การสาบานต้องเอาจุดที่สำคัญที่สุดในประเทศไทย เอาไปสาบานกันทุกคนเลย เอาให้ตายไปข้างนึงเลย ผมกล้าสาบานแบบนั้นเลย (**)”

ลุงพลเม้มปากอีกครั้งร่วมกับกลืนน้ำลายก้อนใหญ่ (Hard swallowing) การกลืนน้ำลายก้อนใหญ่มักพบเวลามีอาการตื่นเต้น เครียด และหวาดกลัว จึงสัมพันธ์กับการเก็บอั้นอารมณ์ลบและจะชัดเจนและถี่มากยิ่งขึ้นตามความรุนแรงของอารมณ์ สามารถอธิบายจากการร่างกายจะลดการทำงานของระบบย่อยอาหารทำให้ลดการหลั่งน้ำลายและน้ำย่อย น้ำลายจะเหนียวและข้นทำให้ต้องพยายามกลืนน้ำลายจนเห็นการเคลื่อนไหวของลูกกระเดือกที่ลำคออย่างชัดเจน พร้อมกับกล้ามเนื้อบริเวณคอจะมีการหดเกร็งกว่าในสภาวะปกติ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากความผิดปกตอทางร่างกายที่เรียกว่าภาวะกลืนลำบาก (Dysphagia)และย้ำว่าในสภาวะปกติเราจะไม่พบการกลืนน้ำลายก้อนใหญ่

สองภาษากายที่เกิดพร้อมๆกันแสดงชัดเจนว่าลุงพล การพยายามกดหรือซ่อมอารมณ์ลบ (Concealing strong negative emotion) การมีสองภาษากายเกิดขึ้นไล่เลี่ยกันยิ่งแปลว่าลุงพลเครียดและกดดันอยู่มากในจังหวะนี้

ในนาที 16:26 (**) หลังจากลุงพลพูดว่า “ผมกล้าสาบานแบบนั้นเลย” เขาแสดงลิ้นงูออกมา (Loose tongue jut)

16:42 เม้มปาก inward lip roll

16:42 ลุงพลพูด “ผมกล้าสาบานต่อสิ่งศํกดิ์สิทธิ์ (*)” พบ เม้มปาก ( inward lip roll อีกแล้ว) และที่สำคัญเกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พูดว่าจะสาบานต่อสิ่งศักดิ์ด้วย เป็นสัญญาณไฟแจ้งเตือนอันใหญ่อีกครั้ง

18:19 เม้มปาก (inward lip roll)

คุณหนุ่มกรรชัย ถาม”ผมถามตากับยายหน่อย ลูกสาวคุณ สาวิตรี เนี่ยกล้าเจอเขา(ลุงพล)ไหมเนี่ย ทุกวันนี้เจอกันไหมเนี่ย” ลุงพลแสดงเม้มปาก (inward lip roll) แสดงถึงการพยายามกดหรือซ่อมอารมณ์ลบ (Concealing strong negative emotion)

20:46 ลิ้นงู loose tongue jut (*)
21:05 Contempt (**)

ช่วงนี้ป้าแต๋นพูดช่วงนาทีที่ 20 เป้นต้นมาจะเห็นภาษากายลุงพลที่น่าสนใจ

ป้าแต๋นพูดว่า “ถ้าครอบครัวทะเลาะกันอยู่อย่างงี้ ผู้ร้ายตัวจริงๆยังอยู่ คงยิ้มแล้ว”

คุณหนุ่ม “ผู้ร้าย คิดว่าอยู่ในหมู่บ้านนี้ไหม”

ป้าแต๋น”ไม่รู้คะ แต่เขาคงดูทีวีอยู่มั้ง (*) มันมีทีวี มีสื่อให้ดู ถ้าครอบครัวเป็นอย่างงี้ ไม่เชื่อมั่นกันและกัน ผู้ร้ายมันก็คงทำอะไรบ่อยๆ”

ลุงพล “ประเด็นของป้าแต๋นที่พูด ก็คือว่า คนร้ายดูสื่อเนี่ย บางทีเขาอาจจะไม่ได้ดูสื่อก็ได้ (**) อันนี้เดี๋ยวเขาจะไปพาดพิงว่าดูสื่อ”

นาที 21:05 ลุงพลแสดงรอยยิ้มที่มีลักษณะมุมปากข้างซ้ายของเขายกขึ้นข้างเดียว จากการหดตัวของกล้ามเนื้อ Buccinator และ Zygomaticus major และพร้อมกับตาที่ดูหรี่ลงจากกล้ามเนื้อรอบดวงตา Obicularis oculi ร่วมกับหน้าฝากย่นจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ fontalis แสดงสีหน้าของ Comtempt รอยยิ้มที่ปรากฎเป็น Duping delight (Ref : Paul Ekman) อธิบายว่าเป็นรอยยิ้มที่ซ่อนเอาไว้ (Supressed smile) ที่แอบโผล่ออกมาเพราะมีความสุขกับการโกหก หลอกคนสำเร็จ

สรุปการถอดรหัสภาษากายของลุงพล

ถ้าตีความจากมุมมองและศาสตร์ด้านภาษากาย จะสามารถสรุปได้ดังนี้

  • ลุงพลเครียด และกดดันมากตลอดระยะเวลาสัมภาษณ์ สังเกตจากการเม้มปากหลายครั้งและไม่กล้ามองหน้าใครตลอดรายการ
  • ลุงพลอาจโกหกเรื่องที่พระอธิการให้ปากคำกับตำรวจ
  • ลุงพลอาจโกหกเรื่องกระเป๋าน้องชมพู่
  • การท้าให้ไปสาบานที่วัดพระแก้วเป็นเพียงการแสดง โดยเล่นบทผู้กล้าหาญผู้ท้าทาย
  • ลุงพลรู้สึกเครียดเมื่อคุณหนุ่มเอยถึงการสัมภาษณ์พร้อมกับแม่น้องชมพู่(คุณสาวิตรี)
  • ลุงผลรู้สึกดีใจเมื่อป้าแต๋นพูดถึงว่าผู้ร้ายกำลังลอยนวลอยู่

ผมคิดว่าก่อนที่เราจะเลือกเชื่อว่าใครบริสุทธิ์และจะออกตัวเชียร์เขา เราควรจะต้องใจเย็น รอดูเหตุการณ์และถ้าจะดีที่สุดลองดูภาษากายของเขาเมื่อถูกสัมภาษณ์หลายๆรายการ

ลุงพลเป็นคนบ้านๆตรงไปตรงมา ซื่อๆและเป้นลูกผู้ชาย หรือแท้ที่จริงแล้วเป็นคนหัวไว เจ้าเล่ห์ ซ่อนสีหน้าเป็นและแสดงละครเก่ง ?

เราจะรู้ความจริงว่าลุงพลบริสุทธิ์ หรือ แค่คนลวงโลก ก็หลังจากคำตัดสินในชั้นศาลผมเชื่อว่าคงยืดยาวถึงฎีกาแน่นอน

แต่ทั้งนี้จากภาษากายผมมีคำตอบในใจเรียบร้อยแล้วครับ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

2 Responses

  1. มิถุนายน 6, 2021

    […] มีเยอะมากๆจนผมได้รวบรวมไว้แยกเป็นอีกบทความหนึ่งในลิ้งนี้ […]

  2. กรกฎาคม 27, 2021

    […] 0:56 ก่อนที่จะเริ่มแถลงข่าว บิล คลินั้น ทำการเม้มปาก (Invert lip roll) การเม้มปากเป็นภาษากายที่เกิดโดยปราศจากการบังคับโดยเจ้าตัว (Subconcious) จะสัมพันธ์กับการกลั้นอารมณ์ลบ (Conceling strong negative emotion) เช่น การกลั้นอารมณ์เสียใจ ความเครียด ความกลัว หรือความโกรธ เป็นภาษากายที่ลุงพลแสดงออกบ่อย (ผมวิเคราะห์ลุงพลไว้ละเอียดในเคสที… […]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *