เมษายน 17, 2021

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 23 : คุณประยุทธ์ บอกว่าเราจะมีวัคซีนไฟเซอร์ใช้ ?

4 โมงเย็นวันนี้ นายประยุทธ์ จันทร์โอชา (บิ้กตู่) ก็ได้ออกมาแถลงข่าวด้วยตัวเองถึงมาตรการที่ภาครัฐจะใช้เพื่อควบคุมโควิดที่กำลังระบาด เพราะ ณ เวลานี้มีตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่เกินวันละ 1,000 รายติดต่อกันหลายวัน ทำให้ภาคธุรกิจและประชาชนอยากทราบเงื่อนไขและข้อบังคับต่างๆ

คุณประยุทธ์ มักมีสีหน้าหงุดหงิดตลอดเวลาเพราะเป็นที่ทราบดีว่างานและตำแหน่งนี้มีเครียดสูง หน้าตาจึงอยู่ใน Mood & Tone ของ Anger บ่อยๆ โดยเฉพาะในสถานการณ์นี้

บทเรียนครั้งนี้เรามาสังเกตจังหวะที่คุณประยุทธ์พูดถึงวัคซีนว่าเขาพูดถึงอย่างไรและมีภาษากายใดๆให้เรียนรู้กันบ้าง

15:08 Tongue jut

ช่วงที่พูดถึงความก้าวหน้าในการจัดหาวัคซีน(นาที 14:54 เป็นต้นไป) นายกพูดว่า

“มีการพูดคุยกับรัสเซียผ่านกระทรวงต่างประเทศ ว่ามีแนวทางการจัดหาได้มากขึ้น สปุ๊กนิค อะนะ และวัคซีนไฟเซอร์ของอเมริกา(*) ซึ่งอันนี้เป็นเรื่องของความสัมพันธ์อันดี ….เราก็จะมาดูว่า เราจะซื้อได้เท่าไหร่ อย่างไร”

ในนาทีที่ 15:08 ซึ่งตรงกับสัญญลักษณ (*) นายกตู่ แล่บลิ้นหลวมๆ และเม้มปากเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ (Lose Tongue Jut)

ภาษากาย Tongue jut หรือ Lizard tongue ซึ่งผมจะใช้คำไทยว่า “ลิ้นงู” เพราะท่าคล้ายงูแล่ปลิ้นออกมาสั้นๆเร็วๆ อาจพบร่วมกับการเลียริมฝีปาก มักพบบ่อยเวลากำลังคิดหรือกำลังพูดในสิ่งที่ตนคิดว่าไม่ดี พบได้บ่อยในคนที่กำลังโกหก ปิดบัง หรือเล่าความจริงที่บิดเบือน เติมแต่ง (ซึ่งล้วนก็เข้าข่ายโกหก) หรือการพูดความจริงแต่เป็นสิ่งที่ตนเองทำไม่ดีเอาไว้ ในเด็กเราจะสังเกตได้ง่าย เช่น ถ้าเขาทำแก้วน้ำหก กำลังโกหก หรือถูกจัดได้ว่าโกหก จะพบการแลปลิ้นแบบลิ้นงูเป็นภาษากายที่มีคู่กันบ่อย

ในผู้ใหญ่เป็นภาษากายที่สังเกตได้บ่อยใน VDO สัมภาษณ์ดารา การสัมภาษณ์งานพนักงานใหม่ หรือในจังหวะที่ผู้แทนขายของกำลังพูดโน้มน้าวลูกค้าให้ซื้อสินค้าตัวเอง

ทั้งนี้คำว่าโกหก (Lie) อาจจะมีหลายแง่มุม เช่นกำลังปกปิด (Concealing) หรือ พูดให้เข้าใจผิด (Misleading) ประเด็นเรื่องทฤษฐีการโกหกเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ละเอียดผมจะมาลงรายละเอียดและขยายความให้ในอนาคต

ภาษากายอันนี้ (Lose Tongue Jut) ผมสังเกตได้ประจำในเคส คุณ บรรยิน ตั้งภากรณ์ ผู้ซึ่งเป็นอาชญากรที่โกหกต่อหน้าสื่อในคดีโอนหุ้น ปลอมเอกสาร และฆ่าคน ตอนที่เขาให้สัมภาษณ์ก็จะเจอ Tongue Jut บ่อย

ทั้งนี้จะต้องแยก Tongue jut ให้ออกจากการเลียริมฝีปาก เพราะดูคล้ายคลึงกัน การเลียปากอาจจะสัมผัสกับสภาวะร่างกายก็ได้ (Physiology) เช่น ปากแห้ง ริมฝีปากแห้ง (Dry mouth , Dry lips) ซึ่งปากแห้งจะพบบ่อยในคนที่ให้สัมภาษณ์ หรือ พูดเป็นระยะเวลานานๆ

แต่ในเคสคุณประยุทธ์นี้ไม่ใช่อาการของปากแห้ง เพราะถ้าปากแห้ง หรือ ริมฝีปากแห้ง เจ้าตัวจะเลียปากบ่อยกว่านี้ และอาจจะเห็นการจิบน้ำ หรือ กระแอ้มเพราะคันคอ

แต่ตลอดระยะเวลาการแถลงข่าวครั้งนี้ซึ่งนานกว่า 20 นาที นายกทำท่านี้ (ลิ้นงู) แค่ไม่กี่ครั้ง โดยเฉพาะการแสดงออกทางภาษากายในจังหวะนี้ เป็นจังหวะที่พูดถึงวัคซีนไฟเซอร์ และพูดต่อว่าประเทศเรามีความสัมพันธ์อันดีกับอเมริกา

ถ้าลำพังเราพบ lose tongue jut ก็อาจจะมองว่า…ก็แค่การเลียปาก ใครจะเลียได้ตอนไหนก็ได้

แต่ในทางภาษากายถ้าการแสดง lose tongue jut ที่สัมพันธ์กับจังหวะของคำพูด ร่วมกับภาษากายอื่นๆด้วยแล้วจะมีความหมายและบ่งบอกอย่างได้มากขึ้นเสมอ ภาษากายมันคือสิ่งที่สื่อสารออกจากร่างกายรูปแบบหนึ่ง

เราจะได้ไฟเซอร์ไหม….หลังจากอ่านภาษากายของนายกแล้ว….มั่นใจไหมครับ ?

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น บุคคลอ้างอิงในเวปไซด์จะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) เป็นต้น การตีความและอธิบายภาษากายไม่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนในเชิงการเมือง หรือ มีจุดประสงค์ที่จะละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

4 Responses

  1. Narumol พูดว่า:

    เรื่องการแลบลิ้นเวลาพูด
    มันอาจจะมีกรณีที่นายกต้องมาอ่านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นศัพท์เทคนิค/ศัพท์วิทยาศาสตร์
    แล้วก็อ่านผิด/อ่านแบบตะกุกตะกัก
    ก็เลยแลบลิ้นด้วยความเก้อเขิน เป็นไปได้ไหมคะ
    เพราะหลายคน อาจจะเป็นผู้หญิงหรือเด็ก เวลาทำอะไรผิดก็เผลอแลบลิ้นออกมาด้วย เหมือนจะแก้เขิน
    ไม่รู้ว่าพวกผู้ชายจะแลบลิ้นเวลาก็เขินบ้างไหม

    ขอบคุณสำหรับบทความการถอดรหัสภาษากายนะคะ
    อ่านแล้วเพลินดีค่ะ ได้ความรู้ด้วย

    • admin พูดว่า:

      เรียน คุณนฤมล

      ใช่ครับ การแล่มลิ้มออกมาเป็นภาษากายอย่างหนึ่งเมื่อคนเราเขิน หรือ ทำอะไรผิด (Embarassment) แต่มักจะเป็นในห้วงอารมณ์ที่สนุก feel free หรือ enjoy อยู่

      ในกรณีคุณประยุทธ์ เป็นการแถลงข่าวที่เป้นทางการ นายกไม่ได้อยู่ในอารมณ์ enjoy ตรงกันข้ามจะออก stressful + anger ด้วยซ้ำ การแล่บลิ้มเมมริมฝีปากจึงไปในแนวทางปกปิดโกหก แต่งเรื่อง หรือ มีความไม่มั่นใจเสียมากกว่าครับ

      ขอบพระคุณที่แวะมาให้ความเห็น และขอบพระคุณมากสำหรับคำชมครับ

      หมอมด

  2. Cob พูดว่า:

    ได้ประโยชน์มากครับ

  1. มิถุนายน 3, 2021

    […] หรือ “ฉันทำอะไรผิดไปเนี่ย” ประยุทธ์ จันทรโอชาก็แสดงภาษากายอัน… […]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *