เจสซี่ วาร์ด สาวสวยที่อยู่ในคลิปในคลับหรูที่ paint ร่างกายใน theme Aventure (ซึ่งเป็นคลิปที่ถ่ายมาเมื่อสามปีที่แล้ว) ที่คุณ ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เอามาแฉว่าเป็นสถานที่ซึ่งรัฐมนตรีไปเที่ยวและอาจจะติดโควิดกลับมา
ในคลิปข้างบน คุณ เจสซี่ ได้เรียกร้องขอให้คุณชูวิทย์ลบคลิปที่เอามาแฉและมีการเผยแพร่ เพราะเจ้าตัวอ้างว่าเป็นการละเมิด
เคสนี้ เรามาดูกันนะครับว่าจะได้ความรู้อะไรบ้าง
นาที 0:14 จะพบว่าคุณ เจสซี่ วาร์ด มีสีหน้าดังภาพ คือ
- หัวคิ้วตก (Both inner conner of the brows drop)
- เปลือกตาบนหดเกร็ง (Tense upper eyelid)
- ร้องไห้ (Crying)
- หน้าแดง (Blushing)
ที่คิ้ว เปลือกตา และการหน้าแดง บ่งบอกลักษณะที่ชัเจนของอารมณ์โกรธ (Anger) ส่วนการร้องไห้แม้จะสัมพันธ์กับความเสียใจ (Sadness) แต่ในกรณีนี้ เป็นสองความรู้สึกที่ตีกัน และทับซ้อนกัน
อารมณ์โกรธ (Anger) จากความไม่พอใจที่มีคนเอาคลิปมาเผยแพร่
อรมณ์เสียใจ (Sadness) เพราะ คุณ เจสซี่ วาร์ด พูดถึงว่าคนในครอบครัวไม่สบายใจ ซึ่งเป็นไปได้ว่าครอบครัวก็เพิ่งจะรู้และคงรู้สึกไม่ดีกับเขา เดาว่าที่บ้านคงไม่ทราบรายละเอียดเบื้องลึกว่าตอนทำงานมีการแต่งตัวอย่างไร
เคสนี้เป็นตัวอย่างของกรณีที่มีสองอารมณ์ตีกัน ช่วงที่ คุณ เจสซี่ วาร์ด พูดถึงการถูกละเมิดจะมีสีหน้าที่โกรธ แต่พอพูดถึงความทุกข์ที่มีต่อคนในครอบครัวก็จะมีสีหน้าเศร้าและเสียใจ หรือมีสองอารมณ์ตีกัน สลับกัน เป็นจังหวะ เป็นช่วง แล้วแต่ว่า ณ เวลานั้นพูดถึงประเด็นอะไรและเจ้าตัวรู้สึกยังไง และบางช่วงจะปนกันคือมีทั้งอารมณ์ทั้งโกรธ และเสียใจ
ในหนึ่งสภาวะ คนเราอาจมีความรู้สึกได้มากกว่า 1 อารมณ์เสมอ และแม้แต่เจ้าตัวอาจจะยังไม่ทันรู้เลยด้วยซ้ำเพราะอารมณ์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอัตโนมัติ
ภาษากายเป็นศาสตร์ที่แม่นยำ ที่สามารถอ่านความคิดและอารมณ์ได้อย่างดีโดยที่ไม่ต้องพึ่งพาอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีใดๆที่ซับซ้อน ในเคสคุณ เจสซี่ วาร์ด จะอ่านภาษากายได้ไม่ค่อยครบถ้วนส่วนหนึ่งจากการที่เจ้าตัวฉีด Botox มาทั้งส่วนกล้ามเนื้อระหว่างคิ้ว หางตา และอื่นๆ ข้อดีคือใบหน้าจะดูเยาว์วัย แต่ข้อเสียคือไม่สามารถแสดงอารมณ์ได้ชัดเจนตามธรรมชาติ
ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น บุคคลอ้างอิงในเวปไซด์จะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) เป็นต้น การตีความและอธิบายภาษากายไม่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนในเชิงการเมือง หรือ มีจุดประสงค์ที่จะละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น