คลิปนี้ ( 29 มิถุนายน 2016) คือสัมภาษณ์หลังเหตุการณ์ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ ถูกจับกุมในข้อหาร่วมฆ่า (ซึ่งภายหลังศาลตัดสินว่าเขามีความผิดจริงและตัดสินประหารชีวิต ลิ้ง) คลิปนี้เจ้าตัวก็อธิบายและแก้ต่างต่อหน้าสื่อมวลชน
*ท่านใดอยากรู้เรื่องคดีนี้แบบรวบรัด Youtube Channel Ejan ได้ทำอธิบายและไล่ timeline ไว้
เคสนี้สิ่งที่น่าเรียนรู้คือถ้าบุคคลผู้ซึ่งทำความผิดจริง และเจ้าตัวก็ได้ลงมือทำความผิดและต่อมาศาลก็ตัดสินเรียบร้อย ถ้าเขาจะพูดแก้ตัวภาษากายเราจะพบสิ่งใดบ้าง ?
ภาษากายคือข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว จึงเป็นชุดของข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้ตีความว่าส่วนตัวเราจะให้ระดับความความเชื่อถือกับเหตุการณ์ที่ปรากฎอย่างไรเท่านั้น การวิเคราะห์ภาษากายจึงไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินว่าใครโกหกหรือหลอกลวง
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
สังเกตเกือบตลอดระยะเวลาการสัมภาษณ์ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ มีภาษากายอย่างหนึ่งที่ชัดเจนมากคือที่ปากมีการยิ้มเล็กน้อยตลอดเวลา และเป็นลักษณะการยิ้มโดยมุมปากข้างขวาอยู่ในระดับที่สูงกว่าข้างซ้าย (Unilateral corner of the mouth raise) ในทางภาษากาย (Body Language) ตีความได้เป็นลักษณะอารมณ์ Contempt
การยิ้มมีหลายแบบและมีหลายความหมาย ในเคสนี้เป็นการยิ้มที่ขัดกับบริบท (Smiling out of context) และมุมปากที่ยกข้างเดียวเป็นลักษณะที่ชัดเจนของอารมณ์ Contempt และรอยยิ้มนี้เรียกว่า Duping Delight
ผมอยากให้ลองจินตนาการถึงตัวเราเองโดยทั่วไปถ้าเราบังเอิญที่เป็นผู้บริสุทธิ์ถูกจับกุมในข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงเช่นนี้ ย่อมที่จะโกรธ (Anger) ที่ถูกจับกุม หรือ แสดงสีหน้าความไม่พอใจที่รุนแรง บางท่านอาจจะรู้สึกอับอายและเสียใจ (Sadness) หรือมีสีหน้าของความเกลียดชัง (Disgust) อย่างแน่นอน และการ “ยิ้ม” ย่อมดูไม่สมเหตุสมผลใดๆ
แต่ในเคสของคุณ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ ในคลิปวีดิโอนี้เพิ่งถูกจับกุมในข้อหาร้ายแรงแต่เจ้าตัวสามารถพูดไปยิ้มไปตลอดระยะเวลาการสัมภาษณ์ และเป็นรอยยิ้มเป็นเอกลักษณ์สำคัญของอารมณ์ Contempt (Ekman และคณะ)
Contempt ซึ่งถ้าแปลเป็นไทยๆ อาจแปลได้หลายความหมาย เช่น สีหน้าของความรู้สึก แยะเย้ย ดูถูก เหยียดหยาม รู้สึกตัวเองสูงส่งกว่า (Supriority) ได้เปรียบกว่า สะใจ การยิ้มเป็นการแสดงถึงความสุขอย่างหนึ่ง(ความสุขของอาชญากรจะแปลกจากคนปกติ คือ มีความสุขเมื่อโกหกคนได้ เมื่อได้หลอกคน หรือ เมื่อทำอะไรบางอย่างสำเร็จ)
ผมได้ลองไล่ดูเกือบทุกคลิปวีดิโอหลักๆที่เป็นการสัมภาษณ์ของ พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ กับนักข่าวในช่วงปี พ.ศ. 2558-2560 พบว่าเขาจะมีสีหน้า Contempt ทุกคลิป
จำไว้ว่าให้สงสัยรอยยิ้มไว้เสมอ ในกรณีที่เขายิ้มขัดกับบริบท (Smiling out of context) จะมีอะไรซ่อนอยู่แน่นอน และมักพบในพวกอาชญากร
ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น บุคคลอ้างอิงในเวปไซด์จะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) เป็นต้น การตีความและอธิบายภาษากายไม่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนในเชิงการเมือง หรือ มีจุดประสงค์ที่จะละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น