สิงหาคม 24, 2023

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 161 : โคะงุเระ คิมิโนบุ กับ ฟุคุดะ คิจโจ สีหน้าและการกลั้นน้ำตา ในศึกชิงดำไปอินเตอร์ไฮด์ : Slam Dunk : Manga

การ์ตูน (Manga) Slam Dunk จัดว่าเป็นหนึ่งในการ์ตูนประเภทกีฬาที่ดีที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดเรื่องหนึ่ง และเป็นแรงบันดานใจให้วัยรุ่นอยากเล่นบาสเก็ตบอลจนเกิดเป็น Trend ในญี่ปุ่นในยุคนั้น (คนญี่ปุ่นมักจะชอบแต่เบสเบอลกับฟุตบอลเป็นหลัก)

Slam Dunk มีส่วนที่อ่านแล้วสนุกหลายอย่าง โดยเฉพาะลายเส้น ความสมจริงของตัวละคร ท่าชู้ตทำแต้มที่สวยงาม และภาษากายก็น่าสนใจ

วันนี้วันพักผ่อนของผม ผมก็เอาการ์ตูนของลูกมานั่งอ่านเล่นๆ ผมพบว่าผู้เขียน อาจารย์ Inoue Takehiko เป็นท่านหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดภาษากายให้กับตัวละครได้สมจริงและน่าสนใจมาก โดยผมจะยกตัวอย่างที่ผมเพิ่งเปิดพบเอามาแสดงกัน และจะเอามาเทียบกับเคสคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ล่าสุดที่เพิ่งเขียนไปไม่นานด้วย

**ภาพในหนังสือการ์ตูน (Slam Dunk เล่มที่ 13) ผมถ่ายภาพออกมาเพื่อใช้อ้างอิงในการเขียนบทความเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ได้ละเมิดเพื่อการค้าใดๆ ทั้งสิ้น

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนในการเรียนรู้ศาสตร์ภาษากาย (Non-verbal communication / Body Language ) อันได้แก่ข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (Concious / Unconcious) จึงเป็นชุดของข้อมูล (Information) ทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาที่สำคัญอันสามารถนำไปประยุกต์ตีความฐานะผู้สังเกตการณ์ และนำไปประเมินกับเหตุการณ์ที่ปรากฏอย่างไรเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินสิ่งใด 

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
ภาพที่ 1 จากหน้าที่ 213

โคะงุเระ คิมิโนบุ (ผู้ชายที่ใส่แว่นในช่องวงกลมสีแดง) ยืนคุยกับพระเอก เหตุการณ์นี้เขาเพิ่งชนะทีมคู่แข่งและได้เข้ารอบไปแข่งขันทั่วประเทศ โดย โคะงุเระ คิมิโนบุ มีความฝันอยากจะพาทีมตัวเองไปสู่ระดับประเทศและเขาก็ทำสำเร็จ พอพระเอกพูดประโยคซึ้งๆ ประมานว่าทีมเราได้ไปต่อนะและเขาก็จะยังไม่จบชีวิตเด็ก ม.ปลายแค่ในเวทีแข่งขันระดับจังหวัด

ในช่องที่มีวงกลมสีแดง เราจะสังเกตการเขียนท่าทางที่สื่อภาษากายได้เป็นอย่างดี โคะงุเระ คิมิโนบุ เงยหน้าขึ้น และเอามือขยับแว่น เพื่อพยายามกลั้นน้ำตาไม่ให้ไหล

ภาพที่ 2 จากหน้าที่ 220
ภาพที่ 3 จากหน้าที่ 221

ในหน้าถัดมาก็มีภาษากายที่คล้ายกัน ผมอยากให้สังเกตตัวละครที่ชื่อ ฟุคุดะ คิจโจ (ในวงกลมสีเขียว) เขาแสดงภาษากายเดียวกับ โคะงุเระ คิมิโนบุ แต่มีอารมณ์ที่รุนแรงกว่า ผู้เขียนเขาจึงเขียน effect เป็นจุดรอบตัวเพื่อให้ดูเสมือนว่าตัวละครกำลังกลั้นอารมณ์จนตัวสั่น

ถ้าสังเกตในหน้าที่ 220 มุมที่ ฟุคุดะ คิจโจ เงยหน้าจะเป็นมุมเดียวกับ โคะงุเระ คิมิโนบุ (สังเกตจากเงาที่คอ) การเงยหน้าเป็นส่วนหนึ่งของภาษากายของการพยายามกลั้นน้ำตาไม่ให้ร้องไห้ออกมาในฉากนี้

อย่างที่เราล้วนเข้าใจกันดีกว่ามนุษย์คือสัตว์สังคม เพราะฉะนั้นเราย่อมระมัดระวังการแสดงออกต่อหน้าผู้อื่นเสมอโดยเฉพาะการแสดงอารมณ์ หรือ ความรู้สึกที่แท้จริงอันจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของเรา (ผู้ชายไม่ชอบโดนมองว่าอ่อนไหว Sensitive หรือ เจ้าน้ำตา) ภาษากายการเงยหน้าเพื่อกลั้นอารมณ์ลบเพื่อไม่ให้ร้องไห้ออกมาผมก็เพิ่งได้เขียนเป็นบทความไม่นานมานี้ เป็นเคสของคุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 159 : คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ประกาศยุติบทบาทของตนเอง ในรายการกรรมกรข่าวคุยนอกจอ : Strong negative emotion ถ้าสังเกตดูก็จะมีความคล้ายคลึงกัน

สรุป

การที่นักเขียนสามารถถ่ายทอดภาษากายลงไปในตัวละครได้มากเท่าไหร่ก็ย่อมทำให้ตัวละครสามารถแสดงออกด้านอารมณ์และความรู้สึกได้ลึกซึ้งได้มากเท่านั้น อันนี้เป็นข้อได้เปรียบของการ์ตูน (Manga) ที่แตกต่างจากนวนิยายที่ถ่ายทอดได้เพียงจากตัวหนังสือ

นักเขียน โดยเฉพาะนักเขียนอาชีพทุกคนก็จะเข้าใจและมีความรู้ด้านภาษากายและสีหน้า (Body language & Facial expression)ในระดับที่เชี่ยวชาญ เราจะสังเกตได้ผ่านผลงานของแต่ละท่าน เช่น ตัวอย่างในบทความนี้ของอาจารย์ Inoue Takehiko ในบทความนี้

ท่านใดเป็นนักอ่านการ์ตูน และอยากแนะนำการ์ตูนใดให้ผมช่วยเขียนบทความก็สามารถทักมาบอกกันได้เสมอครับ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *