มีนาคม 30, 2021

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 15 โบท๊อก (Botox) มีผลต่อการแสดงออกทางใบหน้าแค่ไหน ?

ภาพจาก iStock

คุณคิดว่าภาพนี้มีอะไรขาดหายไป ?

ผมจะมาเฉลยให้ทราบนะครับในบทความนี้ และจะอธิบายถึงสารโบท๊อก (Botox) ว่ามีข้อเสียบางประการที่เราอาจไม่รู้

เราล้วนทราบดีว่า โบท๊อก (Botox) เป็นสารฉีดที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดลักษณะที่เรียกว่า Paralysis ทำให้ไม่สามารถหดตัวได้เหมือนเดิม ส่งผลให้ร้าวรอยย่นบนใบหน้าลดลง เป็นสารฉีดที่นิยมมากโดยเฉพาะผู้หญิง

แม้โบท๊อก (Botox) จะช่วยลดริ้วรอยและทำให้ใบหน้าดูสาวขึ้น แลดูอายุน้อยลง แต่ก็ส่งผลให้ใบหน้าแสดงสีหน้า (Facial expression) ลดลงเช่นกัน เช่น การฉีดโบท๊อกบริเวณหางตาเพื่อลดรอยตีนกา (Crow feet) จะทำให้ไม่สามารถยิ้มแบบ Duchenne Smile และการฉีดบริเวณระหว่างคิ้ว (Glabella complex muscle)ก็ทำให้การแสดงออกทางสีหน้าในบางอารมณ์ผิดเพี้ยนไป (อ้างอิง Mark S ปี 2020)

ในภาพตัวอย่าง ผู้หญิงท่านนี้กำลังแสดงอาการปวดท้องและผมเชื่อว่าถ้าเราดูแล้วจะรู้สึกขัดๆ หรือ ดูไม่ครบถ้วน ผมเฉลยให้ครับว่าสิ่งที่ขาดหายไปคือบริเวณระหว่างคิ้วไม่มีรอยย่น อยากให้ทุกท่านจำไว้ว่าถ้าคนเรามีอาการปวดในระดับปานกลางถึงสูง เราจะพบรอยย่นระหว่างคิ้วที่ชัดเจนมากๆจากการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยรอบ

ในกรณีที่ไม่มีรอยย่นปรากฎ สันนิษฐานได้ว่าคุณผู้หญิงในรูปน่าจะเคยฉีดโบท้อกในตำแหน่งนี้มาไม่นาน

หรือ คุณผู้หญิงไม่สามารถแสดงสีหน้าได้ดีพอ ไม่เนียน และช่างกล้องที่บันทึกภาพก็พลาดที่จะทราบหรือพิจารณาในรายละเอียดสำคัญที่ผมกล่าวมา ทำให้ภาพนี้ไม่สามารถแสดงอารมณ์และความรู้สึกได้เท่าที่ควร ภาษากายจึงเป็นศาสตร์ที่เหมาะอย่างยิ่งที่จะนำมาเสริมเป็นความรู้อีกชุดหนึ่งที่มาต่อยอดได้ทั้งนางแบบ นักแสดง ช่างถ่ายภาพและผู้กำกับ

ส่วนคุณผู้หญิงที่ฉีดโบท๊อก (Botox) แม้ว่าจะได้ผลลัพธ์คือหน้าเรียว ดูอ่อนเยาว์ลง และริ้วรอยลดลง ทั้งนี้กล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวกับการแสดงสีหน้า (Facial Expression) ก็ย่อมทำงานได้ไม่ดีเหมือนเดิม ทำให้เกิดข้อจำกัดในการแสดงอารมณ์และความรู้สึก ซึ่งกลุ่มอาชีพที่จะต้องระวังเป็นพิเศษ คือ นักแสดง ดาราภาพยนต์ และนางแบบ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น บุคคลอ้างอิงในเวปไซด์จะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) เป็นต้น การตีความและอธิบายภาษากายไม่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนในเชิงการเมือง หรือ มีจุดประสงค์ที่จะละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *