มิถุนายน 16, 2023

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 153 : คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ crossed arm และ adaptor เมื่อพูดถึงรถเบนซ์ที่ผู้ใหญ่ใจดีมอบให้

https://www.youtube.com/watch?v=wivTmGcvn98&t=1040

คุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เป็นที่สนใจของสังคมอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะช่วงนี้จากประเด็นคุณพิธากับหุ้น ITV

ในระยะนี้มีการโต้กลับมาที่คุณเรืองไกรด้วยเช่นกันในกรณี “รถเบนซ์” ที่ตนเองเคยโพสโชว์และขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี ทำให้สังคมตั้งคำถามถึงที่มาที่ไปของรถหรูดังกล่าว

VDO นี้เป็นรายการของ PPTV ที่เชิญคุณเรืองไกรมาสัมภาษณ์ และมีภาษากายที่น่าสนใจให้ศึกษา

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนในการเรียนรู้ศาสตร์ภาษากาย (Non-verbal communication / Body Language ) อันได้แก่ข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (Concious / Unconcious) จึงเป็นชุดของข้อมูล (Information) ทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาที่สำคัญอันสามารถนำไปประยุกต์ตีความฐานะผู้สังเกตการณ์ และนำไปประเมินกับเหตุการณ์ที่ปรากฏอย่างไรเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินสิ่งใด 

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
crossed arm , Adaptor
Forehead contraction

นาที 16:49 ถึง 17:17 เป็นช่วงที่ทีมพิธีกรถามเรื่องรถเบนซ์

คุณเรืองไกรมีภาษากายที่สำคัญคือ

  • จู่ๆ เขาได้เปลี่ยนท่าทาง โดยนำแขนทั้งสองขึ้นมาไขว้ในลักษณะกอดอกหลวมๆ (crossed arm) ในภาษากายจัดเป็น Defensive mode หรือ เป็นกลไกทางจิตที่ต้องการปกป้องตนเองทางจิตใจ มักพบเมื่อเจ้าตัวไม่เชื่อสิ่งที่ได้ยิน ปฏิเสธ ตั้งข้อสงสัย หรือ กำลังพูดเพื่อปกป้องตัวเอง ทั้งนี้ท่ากอดอกเป็นภาษากายที่ไม่เฉพาะเจาะจง (non-specific body language) เพราะบางคนนั่งท่านี้เป็นประจำตามปกติ หรือ บางคนอาจจะรู้สึกหนาวจึงกอดอก จึงต้องวิเคราะห์ภาษากายอื่นและบริบทแวดล้อมร่วมด้วยเสมอ
  • มือข้างซ้ายมีการถูไปมาบริเวณข้อศอกของแขนข้างขวา ลักษณะมือที่ปรากฏในภาษากายเรียกว่า มืออารมณ์ (Adaptor) เป็นการเคลื่อนไหวของมือที่ไม่เกี่ยวกับการสื่อสารแบบมือประกอบ แต่เคลื่อนไหวไปตามอารมณ์ที่กำลังผันแปรที่เจ้าตัวไม่รู้ตัว (Unconcious) เป็นไปเพื่อปลอบประโลมทางจิตใจ (Self-soothing) เพราะสภาวะจิตกำลังรู้สึกถึงอันตราย ความไม่ปลอดภัย หรือ ความอึดอัดใจ พบได้บ่อยในคนที่กำลังประหม่า และ กลัว
  • สีหน้าที่ปรากฏจะพบการขมวดคิ้วโดยกล้ามเนื้อ fontalis ในส่วนนี้เป็น baseline ของคุณเรืองไกร (จึงไม่ได้นำส่วนนี้มาวิเคราะห์)

อีกประเด็นที่ต้องวิเคราะห์ คือ ตลอดทั้ง 25 นาทีของ VDO คุณเรืองไกรมีภาษากายและสีหน้าที่มั่นใจ ขึงขัง แต่จะมีเพียงเฉพาะนาที 16:49 ถึง 17:17 ที่ผิดแปลกไปอย่างสิ้นเชิงซึ่งแสดงออกในส่วนของมือและแขน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วทำให้สิ่งที่คุณเรืองไกรอธิบายว่าเป็นรถเบนซ์ที่ภรรยาซื้อให้ดูมีน้ำหนักน้อยลงทันทีจากความไม่สอดประสานกันของภาษากายและสิ่งที่พูด

สรุป

ท่ากอดอกเป็นภาษากายที่คนส่วนใหญ่ไม่สนใจ และไม่เชื่อว่าจะมีความหมายที่จะแปลความถึงสิ่งสำคัญใดๆ เพราะในมุมมองของสังคมและวัฒนธรรมก็ถือว่าเป็นท่านั่งและท่ายืนที่พบเห็นอย่างปกติทั่วไป อีกทั้งคนเราก็มักจะกอดอกเพราะรู้สึกหนาวได้ด้วยเช่นกัน

แต่ในกรณีที่ปรากฏใน VDO นี้เป็นตัวอย่างเคสเรียนที่มีความชัดเจนถึงการกอดอกและความหมายในทางภาษากาย และการวิเคราะห์ภาษากายที่ละเอียดลงไป ทำให้เราเห็นความไม่ปกติจากสิ่งที่ปกติอย่างการ “กอดอก” อย่างน่าสนใจ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *