ธันวาคม 31, 2022

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 127 : CEO หงษ์ทอง ในรายการโหนกระแส กับ ภาษากายของการหลบตา Eyes contact

คุณฐิติภา หรือ คุณวี CEO ของ หงษ์ทองดอทคอม และคุณ ณวัตร มีเหตุทะเลาะกันจนเป็นคดีความโดยคุณณวัตรกล่าวหาว่าทางหงษ์ทองดอทคอมไม่ได้มอบรางวัลหวยแต่แท้ที่จริงเป็นการจัดฉากเพื่อหวังผลทางการตลาดให้ลูกค้าอยากมาซื้อหวยกับทางหงษ์ทองดอทคอมเท่านั้น ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับคุณณวัตรเพราะรู้สึกเหมือนตนและทีมงานถูกหลอกให้ไปทำในสิ่งที่ไม่เหมาะสม

แต่พอไม่กี่วันหลังจากที่ต่างฝ่ายต่างออกปากว่าจะฟ้องอีกฝ่าย ล่าสุดทาง CEO ของหงษ์ทองดอทคอมก็ออกมาสารภาพความจริงว่าจัดฉากจริงและขอโทษทางคุณณวัตร (ตามลิ้งก์ข่าว)

วีดิโอของรายการโหนกระแสในบทความนี้เป็นช่วงแรกที่ทาง CEO หงษ์ทองดอทคอมยังยืนกรานในเหตุผลและข้อมูลของฝั่งตนและต้องการดำเนินคดีกับคุณณวัตรเพื่อเรียกค่าเสียหายถึง 100 ล้านบาท

บทเรียนนี้มีภาษากายที่น่าสนใจเรียนรู้โดยเฉพาะตาและการมอง (Eyes Contact)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนในการเรียนรู้ศาสตร์ภาษากาย (Non-verbal communication / Body Language ) อันได้แก่ข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (Concious / Unconcious) จึงเป็นชุดของข้อมูล (Information) ทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาที่สำคัญอันสามารถนำไปประยุกต์ตีความฐานะผู้สังเกตการณ์ และนำไปประเมินกับเหตุการณ์ที่ปรากฏอย่างไรเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินสิ่งใด 

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
(*) Looking downward ก้มหน้ามองต่ำ
(**) looking away
(***) looking downward
(****) looking away

18:00 – 18:28 เป็นช่วงสำคัญที่พิธีกรถามถึงเรื่องที่ว่าทางหงษ์ทองดอทคอมได้ทำการจ้างหน้าม้ามารับเงินรางวัลจริงหรือไม่

พิธีกร : “จำนวนเงินมัน 6 ล้านบาท ตัวเลขผมจำไม่ได้ ผมไม่รู้เขาพูดหรือเปล่า ผมจำไม่ได้”

CEO หงษ์ทองดอทคอม : “ค่า..(*)ตัวเลข 6 ล้านบาทคะ”

  • ตอน CEO ตอบว่า 6 ล้านบาทในจังหวะ (*) จะพบการก้มหน้ามองต่ำ ซึ่งการละสายตาจากพิธีกรและก้มหน้าตอบ ในภาษากายมักสัมพันธ์กับความไม่มั่นใจ รู้สึกผิด และละอาย ในภาษาไทยเรามีคำพูดที่ตรงตัวคือคำว่า “ไม่กล้าสู้หน้า” การละสายตาแล้วมองต่ำไม่ว่าจะลงล่างตรง ซ้าย หรือ ขวา มักจะสัมพันธ์กับอารมณ์ลบประเภท รู้สึกผิดและละอาย เช่นในสถานการณ์ที่คนเรากระทำความผิด โกหก หรือ ปกปิดความจริง
  • นอกจากนั้นจะพบว่าศีรษะของ CEO จะเอียงออกจากพิธีกร (Tilting away) อธิบายด้วยกลไก Flee response ที่เจ้าตัวต้องการหนี หรือถอยห่างเพราะต้องการหนี/ป้องกันตัวเอง อันเป็นสภาวะที่เกิดทางจิตใจที่เจ้าตัวก็ไม่รู้ตัว (Unconcious)

(ต่อ)

พิธีกร : “แล้วมันจริงไหม”

CEO หงษ์ทองดอทคอม : “(**)จริงไหมจริง เราไปคุยในชั้นศาลดีกว่า ขอทิ้งปมไว้นิดนึงว่า (***) ขนาดเขาว่าเราจ้างห้าพันเขาทำขนาดนี้ ถ้าคนอื่นจ้างเขามากกว่าเขาจะทำขนาดไหน”

พิธีกร : “คุณยืนยันว่าคุณเอก ไม่ได้พูดความจริงใช่ไหม ?”

CEO หงษ์ทองดอทคอม : “(****)อันนี้ ขอไปพูดในชั้นศาลดีกว่าคะ”

  • ในจังหวะที่ (**) CEO ตอบว่าไปเจอในชั้นศาลดีกว่า จะพบการมองไปในทิศตรงกันข้ามกับพิธีกร และเช่นเดียวกับจังหวะ (****) ที่มองไปที่ทนายของตัวเอง

ในภาษากายอธิบายได้ว่าการละสายตามองไปทิศตรงข้าม (Looking away) เป็นการลดความเครียดและความกดดันที่กำลังเกิดขึ้น เป็นการผ่อนคลายทางจิตใจเพราะอาจมีความกลัวและประหม่าเกิดสะสม (Decreasing psychological discomfort) และพบเสมอเวลาคนเราขาดความมั่นใจที่จะต้องพูด หรือ ตอบสิ่งที่สำคัญ (Strong statement)

การหันไปสบตากับทนายที่อยู่ด้านขวาของตัวเองเป็นการขอตัวช่วย หรือ หาพวก (Authorized) การมองพวกพ้องเพื่อขอตัวช่วย เช่น ทนาย จะพบประจำในรายการสัมภาษณ์โหนกระแสที่เจ้าตัวจะหนีบทนายมาออกรายการด้วย อาจไม่ได้แปลว่าเจ้าตัวขาดความรู้ทางกฎหมาย แต่ขาดคนหนุนหลัง (Psychological Support) เพราะกังวลคำถามที่พิธีกรจะถาม (ซึ่งรายการนี้มักจะถามตรง ๆ)

สรุป

การมอง หรือ Eyes contact เป็นภาษากายที่สังเกตง่ายและสามารถสะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของคนได้อย่างดี เช่น ความกังวล ประหม่า ความมั่นใจ ไม่ชอบ เกลียด สนใจ ตื่นเต้น ดีใจ รู้สึกผิด ละอาย ทั้งนี้ ไม่แนะนำให้วิเคราะห์เฉพาะตาเพื่ออ่านภาษากาย เพราะภาษากายชนิดเดียว (Single body language) จะมีความแม่นยำไม่สูงนักและจำเป็นจะต้องวิเคราะห์ร่วมกับภาษากายอื่น ๆ ที่แวดล้อม สถานการณ์ ตัวกระตุ้น และบริบท รวมถึงบุคลิกพื้นฐานของบุคคลนั้น (Baseline behavior)

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *