มิถุนายน 27, 2022

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 102 : คุณประยุทธ์ จันทร์โอชา คุณปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ และคุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ยืนถ่ายรูปด้วยกัน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 (still image)

ไฮไลต์ที่หลายคนจับตามอง คือการพบกันเป็นครั้งแรกหลังรับตำแหน่งของ คุณ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ กับท่านนายกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาลประชุม ศบค.ร่วมกัน เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 และอีกท่านคือคุณปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ (ชุดสีชมพู)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้อันเป็นประโยชน์ให้แก่ประชาชนในการเรียนรู้ศาสตร์ภาษากาย (Non-verbral communication / Body Language ) อันได้แก่ข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว (Concious / Unconcious) จึงเป็นชุดของข้อมูล (Information) ทางพฤติกรรมศาสตร์และจิตวิทยาที่สำคัญอันสามารถนำไปประยุกต์ตีความฐานะผู้สังเกตการณ์ และนำไปประเมินกับเหตุการณ์ที่ปรากฎอย่างไรเท่านั้น ไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินสิ่งใด

 ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์

จากภาพจะมีจุดที่น่าสนใจหลายประการ และผมได้มีสัญลักษณ์ไว้ในภาพข้างต้น

  • ไหล่ของคุณประยุทธ์ชิดติดกับคุณปรเมศวร์ และไม่ชิดกับคุณชัชชาติ
  • ศีรษะคุณประยุทธ์เอียงไปทางคุณปรเมศวร์เล็กน้อย และของคุณปรเมศวร์เองก็เช่นกัน แต่ของคุณชัชชาติค่อนข้างตรงแต่มีเอียงออกราว 5 องศา
  • ระยะห่าง (Distance) ถ้าวัดจากศีรษะของคุณประยุทธ์จะห่างกว่า (X2)เมื่อเทียบกับระยะระหว่างคุณปรเมศวร์ (X1)
  • แขนซ้ายของคุณประยุทธ์ห่างจากลำตัวมากกว่าแขนขวา
  • มือซ้ายของคุณประยุทธ์(ซึ่งเป็นมือข้างที่ไม่ถนัด) จับมือ/กำมือกับคุณชัชชาติแน่น แต่ข้างขวาจะจับหลวมซึ่งผ่อนคลายกว่า

จากภาพก็น่าพิจารณาว่าคุณประยุทธ์อาจจะรู้สึกชอบ หรือ รู้สึกปลอดภัยเมื่อยืนติดกับคุณปรเมศวร์ซึ่งมีภาษากายที่แตกต่างเมื่อยืนชิดกับคุณชัชชาติ

ในส่วนนี้สามารถอธิบายด้วยหลัก Proxemics หรือ Human distances อธิบายแบบย่อ คือ ถ้าเรารู้สึกเชื่อใจ ชอบ หรือ สบายใจกับใคร เราจะมีแนวโน้มที่จะยอมให้เขาเข้าใกล้เราเมื่อเทียบกับคนที่เราเชื่อใจน้อยกว่า ชอบน้อยกว่าหรือไม่ชอบ หรือ ไม่สบายใจกับบุคคลท่านนั้น และการเข้าใกล้มาก ๆ ในระดับ intimate space จะจำกัดเฉพาะคนที่เรารู้สึกสนิทและปลอดภัยอย่างแท้จริง เช่น สามี ภรรยา ลูก บิดามารดา เป็นต้น

ในแง่พฤติกรรมและแรงจูงใจก็อธิบายได้ เช่น Flight of Fight response หรือ Like – dislike คนที่เราไม่ชอบ เราอาจจะแกล้งหลบหน้า เดินหลบ เพราะไม่อยากคุย ไม่อยากอยู่ใกล้ เป็นต้น

ทั้งนี้สิ่งที่อาจจะขัดแย้ง คือ มือที่กำแน่นที่มือซ้าย และกำแน่นที่มือขวาจะอธิบายอย่างไร ?

ส่วนตัวผมมองว่าการจับมือของคุณชัชชาติดูมีความตั้งใจ (Deliberately , Conciously) ที่จะจับให้แน่น เมื่อเทียบมือขวาที่จับแบบสบาย ๆ (Relax) มันทำให้เราเห็นความไม่สอดประสานของภาษากาย นั่นคือบางอย่างทำเพื่อแสดง (Display) และภาษากายบางอย่างเจ้าตัวก็แสงออกมาแบบไม่ได้ตั้งใจ หรือ ไม่ได้ควบคุม (Unconcious , Liberatly) ซึ่งแน่นอนว่าภาษากายที่เจ้าตัวไม่ได้ควบคุมย่อมสะท้อนอารมณ์และความรู้สึกแท้จริง

ทั้งนี้ ภาพนิ่ง (Still image) ไม่สามารถฟันธงว่าคุณประยุทธ์รู้สึกอย่างไรได้ 100% เพราะภาพนิ่งมีข้อจำกัดในการวิเคราะห์ภาษากายหลายประการเมื่อเทียบกับภาพ VDO ทั้งนี้ก็อาจจะพออธิบายได้และเอามาใช้เรียนรู้เพื่อรู้จักภาษากายมากขึ้น และความไม่เข้ากัน หรือ การตีรวนของภาษากาย

คำถาม

1.คุณคิดว่าคุณประยุทธ์รู้สึกอย่างไร เปรียบเทียบกับบุคคลทางซ้ายและขวาที่เขาจับมืออยู่ ?

2.ในภาพคุณอนุทินเป็นคนเดียวที่เอามือไขว้หลัง คุณคิดว่าคุณอนุทินกำลังคิดอะไร หรือ รู้สึกอะไรอยู่ ? และการยืนเอามือไขว้หลังบอกอะไรเราได้บ้าง ?

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *