เมษายน 14, 2022

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 95 : เด็กน้อย 5 ขวบวิจารณ์ Boris Johnson เละกรณี Party ช่วง lockdown

VDO ของเด็ก 5 ขวบที่แสนน่ารักและตลกอันนี้เกิด Viral ไปทั่ว เป็น VDO สั้น ๆ ของเด็กสาวน้อยพูดวิพากษ์วิจารณ์ นาย Boris Johnson ที่แอบไปเที่ยว Party ช่วงที่มีการ Lockdown ว่านาย Boris Johnson เป็นคนดื้อ (naughty) สมควรถูกจับไปที่บ้านเด็กดื้อ (naughty centre)

สิ่งที่น่ารักเกี่ยวกับ VDO นี้คือเด็กน้อย 5 ขวบเขาสื่อสารอย่างได้รสชาติ ดูจริงจัง และโดยเฉพาะการใช้มือประกอบการพูดที่ดูแล้วไม่ต่างจากผู้ใหญ่

บทความนี้จะขอพูดถึงภาษากายของมือในเด็กกันสักหน่อย

การใช้มือเพื่อประกอบการสื่อสาร (illustrator) เป็นสิ่งที่มนุษย์เราทำได้เองตามพัฒนาการโดยที่ไม่ต้องมีการสอน (Passive) และมีข้อมูลจากงานสำรวจและวิจัยกล่าวถึงสิ่งนี้มากมาย ดังนี้

ถ้าไล่เรียงตั้งแต่หลังคลอด ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยังพูดไม่ได้ ทารกจะสามารถสื่อสารในรูปแบบของการกระทำ เช่น

  • หันหน้าหนีสิ่งที่ไม่ชอบ (เช่น คนแปลกหน้า)
  • สบัดมือ และ ผลัก สิ่งที่ไม่ต้องการ (ไม่อยากกิน)
  • ยื่นมือขอของที่อยากได้ หรือ สนใจ (ยื่นมือขอขนม ขอของที่ผู้ใหญ่กำลังถืออยู่)

เมื่อโตมากขึ้นในระดับ 2 ถึง 3 ขวบ เด็กก็จะเรียนรู้การใช้มือในการสื่อสารอย่างอัตโนมัติ

  • เรียนรู้ผ่านองค์ประกอบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะผ่านสังคมที่เห็น เฝ้าสังเกตคนรอบข้าง สิ่งแวดล้อม
  • ในช่วงที่เด็กยังไม่สามารถพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพเขาจะใช้มือเพื่อสื่อสารเป็นหลัก
  • กลับกัน ถ้าต้องการสื่อสารให้เด็กเล็กเข้าใจมากยิ่งขึ้น ผู้ใหญ่ก็ควรเรียนรู้การใช้มือเพื่อช่วยในการสื่อสารเช่นกัน ซึ่งจะกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น

การใช้มือเพื่อสื่อสารในเด็กจะแสดงออกมาแบบไม่ได้ตั้งใจ (Passive) ในเคสเด็ก 5 ขวบคนนี้จะเป็นภาษากายในลักษณะ passive illustrator ที่แสดงออกมา ซึ่งจะพบได้ถ้าอินกับสิ่งที่พูด และกระตือรือล้นที่จะสื่อสารอับอีกฝ่าย

ทั้งนี้ illustrator ที่เป็น passive แนวโน้มจะลดลงกว่าปกติ หรือ อาจจะไม่พบเลยถ้ามีสภาวะทางความคิดที่สับสน เครียด หรือกำลังคิดถึงสิ่งอื่นอยู่ หรืออยู่ในสภาวะมี่มีอารมณ์ลบ โดยเฉพาะความกลัว และกังวล

สรุป

illustrator ในเด็กจะเป็น passive เสมอเพราะเด็กยังไม่ได้เรียนรู้การสื่อสารในระดับสูงที่จะใช้ภาษากายแบบซับซ้อนและควบคุมโทนเสียงให้สอดคล้องกับคำพูด เด็กที่อายุ 5 ขวบกจะสามารถใช้มือในการสื่อสารได้ใกล้เคียงผู้ใหญ่

และการใช้มือดังกล่าวเด็กจะสามารถทำได้เอง ถ้าเจอเด็กคนไหนที่ใช้มือช่วยในการสื่อสารเยอะ ๆ อันนี้เป็นสัญญาณที่ดี อาจแสดงถึงความมั่นใจ มีพัฒนาการทางสมองที่เด่นอีกด้วย (ลิ้ง)

illustrator ก็สามารถใช้อนุมานและสะท้อนอารมณ์ของผู้สนทนาได้ แต่จะต้องพิจารณาร่วมกับภาษากายอื่นด้วยเสมอ

ขอให้สนุกกับการเรียนนะครับ

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *