เมษายน 5, 2022

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 91 : คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร : Exaggerated illustration กับคลิปแนะนำตัวเพื่อลงสมัครผู้ว่าฯกทม.

Workpoint ได้ทำคลิปที่น่าสนใจ ให้ผู้ท้าชิงตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร 7 ท่านมาแนะนำตัวเองใน 30 วินาที และคลิปข้างต้นคือคลิปของ คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร (ประวัติ) ผู้สมัครจากพรรคก้าวไกล

คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ถือเป็นบุคคลที่มีความน่าสนใจ ท่านเรียนจบถึงระดับปริญญาเอก ประวัติการทำงานโดดเด่นหลากหลาย มีบุคลิกตรงไปตรงมา ฉะฉาน และเป็นที่รู้จักอย่างโด่งดังหลังอภิปรายเกี่ยวกับยุทธการทางข้อมูลข่าวสาร (ไอโอ) ของกองทัพ (ลิ้ง)

คลิป VDO ในโจทย์ให้แนะนำตัวอันนี้แม้จะมีความยาวแค่ 30 วินาที แต่ก็มีประเด็นภาษากายที่น่าสนใจให้มาเรียนรู้กัน

illustrators

ตลอดระยะเวลา 30 วินาทีของการแนะนำตัวของ คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร จะพบจุดเด่น คือ การใช้มือเพื่อประกอบการพูด (illustrator)

การใช้มือเพื่อประกอบการพูด (illustrator) จะมีความหมายคนละอย่างกับภาษามือ หรือภาษาใบ้ (Sign Language)

illustrator อาจเป็นไปในลักษณะที่ตนตั้งใจกระทำเพื่อให้ประกอบการสื่อสาร (Deliberate) หรือ ไม่ได้ตั้งใจ (Liberate) โดยมือที่แสดงสัญลักษณ์จะไม่ได้มีความหมายที่ชัดเจนโดยตรงเหมือน Emblem แต่จะสอดคล้องกันสิ่งที่พูดอย่างเหมาะเจาะ

ในภาษากาย การใช้มือเพื่อสื่อสารอย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มระดับการสื่อสารให้สูงขึ้นอีกขั้น เพราะจะสื่อสารได้ดียิ่งขึ้น เข้าใจมากขึ้น ดูกลมกลืน สอดคล้อง และดึงดูดผู้ฟังได้ดี (Increase engagement) และที่สำคัญเป็นการสื่อความหมายและเน้นย้ำสิ่งที่พูดให้มากยิ่งขึ้น นักพูด หรือ นักบรรยายที่เก่งจะสามารถใช้มือได้อย่างเหมาะเจาะ

ทั้งนี้ควรจะใช้อย่างถูกต้องไม่มากไม่น้อยเกินไป

ถ้าสังเกตจะพบว่า คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ใช้มือเยอะมาก ถึง 12 ท่าภายใน 30 วินาที (ตามภาพ) ถือว่าเป็นความถี่ที่สูง ทำให้ดูเหมือนว่าเขาพยายามย้ำ หรือ เพิ่มน้ำหนักให้สิ่งที่พูดมากเกินไป (Exaggeration) เหมือนจะพยายามเน้นย้ำไปทุกคำพูดยังไงยังงั้นเลย

การใช้มือเพื่อช่วยสื่อสารด้วยความถี่กว่าปกติก็มีความสำคัญในบางกรณี เช่น การสื่อสารกับเด็กเล็กที่อาจยังไม่เข้าใจคำพูดมากพอ คนต่างชาติที่ฟังภาษาของเราไม่ออก หรือ คนหูตึง/มีปัญหาในการได้ยินเสียง

ทั้งนี้ในการสื่อสารเพื่อพรีเซนต์งาน การบรรยาย หรือ ปาฐกถา ควรใช้ illustrator เป็นครั้งคราวโดยเน้นใช้ในประโยค หรือคำพูดที่ต้องการเน้นย้ำและให้ความสำคัญเท่านั้น การใช้เยอะเกินไปอาจจะทำให้ดูเสียบุคลิกและขาดสง่าราศี **ทั้งนี้จะเป็นข้อยกเว้นสำคัญการใช้เป็นภาษามือเพื่อสื่อสารกับคนหูพิการ

นอกจากนั้นจะพบ คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ก้มหน้าและตามองขึ้นบนเล็กน้อย และคิ้วทั้งสองข้างหดเข้าหากัน และหัวคิ้วกดลง เป็นสีหน้าคล้ายอารมณ์ Anger ทำให้ดูขึงขัง จริงจัง พร้อมสู้ นำ้เสียงก็เป็นไปในโทนนั้น โดยรวมแล้วทำให้เขาดูกระตือรือล้น ในลักษณะเป้าหมายมีไว้พุ่งชน

เป็นกำลังใจให้ คุณ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร นะครับ

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น บุคคลอ้างอิงในเวปไซด์จะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) เป็นต้น การตีความและอธิบายภาษากายไม่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนในเชิงการเมือง หรือ มีจุดประสงค์ที่จะละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

1 Response

  1. เมษายน 11, 2022

    […] (ผมเคยทำบทวิเคราะห์ภาษากายของคุณวิโรจน์ ลั…) โดยใน VDO […]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *