คดีคุณแตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ เสียชีวิตจากการตกเรือเป็นคดีที่เป็นข่าวดังตั้งแต่ต้นปี 2565 ด้วยพฤติการณ์ต่าง ๆ ที่เป็นที่สงสัยและถกเถียง เช่น สังคมส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าเธอจะไปนั่งฉี่ท้ายเรืออย่างผิดปกติวิสัย การหลบหน้าของผู้จัดการส่วนตัวและเพื่อนร่วมเรือในวันเกิดเหตุแทนที่จะเฝ้ารอเพื่อนที่ตกน้ำอย่างใจจดจ่อ ฯลฯ ทำให้ใครหลายตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีนี้อย่างมาก
ทั้งนี้คนนึงที่เจ็บปวดมากที่สุดก็คงไม่พ้นคุณแม่ของคุณแตงโม (ภนิดา ศิระยุทธโยธิน) ที่สูญเสียลูกสาวไป
ในเคสนี้เป็น VDO ที่คุณผู้จัดการส่วนตัวของคุณแตงโมได้มากราบขอขมาคุณแม่ของคุณแตงโมที่ สถานีตำรวจนนทบุรี ซึ่งจุดที่น่าสนใจเอามาเรียนรู้ภาษากายในเคสนี้คือลักษณะการใช้นิ้วกลางของคุณแม่ที่ชี้ใส่คุณผู้จัดการดังภาพด้านล่าง
ภาษากายคือข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว จึงเป็นชุดของข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้ตีความว่าส่วนตัวเราจะให้ระดับความความเชื่อถือกับเหตุการณ์ที่ปรากฎอย่างไรเท่านั้น การวิเคราะห์ภาษากายจึงไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินว่าใครโกหกหรือหลอกลวง
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
นาที 7:29 ถึง 7:50 ช่วงที่พูดถึงความสัมพันธ์ของทั้งคู่
“คุณแม่ซื้อเปียโนให้น้องอีสเตอร์ แล้ว กระติกเป็นอย่างงี้กับคุณแม่ได้ยังไง…..”
ในภาพจะพบผู้หญิงด้านขวา (แม่ของคุณแตงโม) ชูนิ้วกลางและชี้ขึ้นลงในท่าสับหมู (Finger point hand chop) จุดที่น่าสังเกตคือนิ้วที่ใช้ไม่ได้เป็นนิ้วชี้ (Index Finger) แต่เป็นนิ้วกลาง (Middle finger)
การชูนิ้วกลางมีความหมายในทางวัฒธรรมหลายหลายประเทศที่มีความหมายสอดคล้องกัน คือ หมายถึงอวัยวะเพศชาย อันสื่อถึงเราต้องการจะด่าอีกฝั่งว่าแย่ เลว ห่วย เป็นการกระทำเพื่อลดคุณค่าอีกฝ่าย เป็นต้น คนไทยเราล้วนทราบดีว่าการชูนิ้วกลางแปลว่าอะไรด้วยความที่นิ้วกลางมีความหมายในแง่ลบ เราจึงไม่ใช้นิ้วนี้ในการสื่อสารและระมัดระวังที่จะใช้มันเพราะความหมายเชิงสังคมถือว่าไม่สุภาพ
โดยทั่วไปถ้าเราต้องการชี้นิ้วเราจะใช้นิ้วชี้ และจะไม่ใช้นิ้วกลางเลย
สิ่งที่น่าสนใจคือ แล้วทำไมเคสถึงใช้นิ้วกลางชี้ ? สิ่งนี้ตอบได้ในทางภาษากายว่า Emblem
Emblem (Efron, D :1941) คือ การแสดงออกเพื่อการสื่อสารในลักษณะของสัญลักษณ์ เช่น
- การชูนิ้วโป้งหมายถึงดีเยี่ยม
- ชูสองนิ้ว หรือตั้งกำปั้น แปลว่าสู้
- ชูนิ้วกลางแทนการด่าว่าคุณมันแย่หรือห่วย
- ทำนิ้วเป็นวงกลม แปลว่าโอเค เป็นต้น
Emblem เป็นภาษากายเพื่อการสื่อสารที่เฉพาะเจาะจงตามวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มคนหรือสังคม (Cultural group) จึงมีความหมายเฉพาะกลุ่ม (Culture-specific) เพราะฉะน้ันถ้าคุณบังเอิญมนุษย์ถ้ำเขาจะไม่รู้ว่าการโดนโชว์นิ้วกลางแปลว่าอะไร
ทั้งนี้ Emblem อาจรั่ว (Leak) ออกมาโดยที่เจ้าตัวไม่ได้ตั้งใจจะกระทำโดยตรง (Semi-concious) เรียกว่า Emblematic slip เพราะเจ้าตัวกำลังพยายามซ่อนอารมณ์หรือควบคุมความรู้สึกเอาไว้
กลับมาที่เคส ในบริบทที่ปรากฎใน VDO จะพบการโต้เถียงระหว่างคุณแม่ของคุณแตงโม และ อดีตผู้จัดการของคุณแตงโม โดยคุณแม่กำลังพูดด้วยอารมณ์ที่เสียใจ น้อยใจ กับการกระทำของอีกฝ่ายด้วยอารมรณ์และความรู้สึกที่รุนแรง และมี Emblematic slip เป็นนิ้วกลางแสดงออกมา
คำถามที่น่าสนใจคือ นิ้วกลางนี้คือ Emblematic slip จริง ๆ หรือไม่ ? หรือจะเป็นเพียงความบังเอิญเท่านั้นและไม่ได้มีความหมายเชิงจิตวิทยาใด ๆ ?
ส่วนตัวผมมองว่ามีโอกาสเป็นไปได้ทั้งคู่ เพราะภาษากายในกรณีที่เห็นนี้ไม่สามารถฟันธงได้ชัดเจนว่าเป็น Emblematic slip อย่าง 100% และอาจเป็นเพียงความบังเอิญก็ได้ที่แสดงนิ้วกลางออกมา
แต่ทั้งนี้ ถ้าพิจารณาในบริบทโดยรวม ผมคิดว่ามีเหตุผลมากพอที่มองจะเป็น Emblematic slip ดังนี้
- คุณแม่คุณแตงโมก็โกรธและไม่พอใจอดีตผู้จัดการท่านนี้อย่างมาก เพราะเขามองว่าดูแลคุณแตงโมได้ไม่รัดกุมพอจนคุณแตงโมเสียชีวิตขณะเที่ยวด้วยกัน
- การติดต่อสื่อสารของอดีตผู้จัดการหลังเกิดเหตุกับคุณแม่ก็ทำได้ไม่ดีจนสังคมรุมตำหนิว่าไม่ใส่ใจและใจดำ
- คุณแม่เองก็รักและเอ็ดดูคุณอดีตผู้จัดการและครอบครัวเขา แต่อีกฝ่ายแต่กลับทำให้เกิดความเสียใจและสูญเสีย
- นิ้วกลางจังหวะนี้ก็แสดงออกมาชัดเจน และตำแหน่งคืออยู่ตรงหน้ากลางระหว่างทั้งคู่ (Presentation position)
- คุณแม่ ช้มือกำไมค์ไม่ได้ใช้นิ้วจับไมค์ (การใช้นิ้วจับไมค์จะชี้นิ้วยากกว่าเพราะสัมผัสแค่นิ้วทำให้ประคองไมค์ยากกว่า)
ผมแนบภาพของอดีตประธานาธิบดีของอเมริกา คุณ Donale trump ไว้สักเล็กน้อย เขาเองก็มี Emblematic slip ให้เห็นในหลายโอกาสเช่นกัน (ลิ้ง)
สรุป
โดยธรรมชาติคนเราในสภาวะทางอารมณ์รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นโกรธ เศร้า กลัว เกลียด ภาษากายจะปรากฎออกมายิ่งชัดเมื่อเทียบกับสภาวะปกติ ทำให้การแสดงออกทางร่างกายสะท้อนความรู้สึกภายในออกมาให้ปรากฎ ซึ่ง Emblematic slip เป็นหนึ่งภาษากายในนั้น การแสดงออกของร่างกายภายใต้อารมณ์จึงตรงไปตรงมาทำให้สามารถวิเคราะห์ต่อถึงความรู้สึกและเจตนาได้ในระดับที่แม่นยำ
ขอให้สนุกกับการเรียนรู้
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น บุคคลอ้างอิงในเวปไซด์จะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) เป็นต้น การตีความและอธิบายภาษากายไม่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนในเชิงการเมือง หรือ มีจุดประสงค์ที่จะละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น