ธันวาคม 30, 2021

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 72 : เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ Contempt กับ Baseline Personality

จาก แชร์เมืองไทยให้โลกรู้ 60 ปีท่องเที่ยวไทย หน้า 84

ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง และสะดุดตามกับบทความและภาพที่แสดงในรูปข้างต้น บุคคลในภาพจะเป็นคนหนึ่งที่เราคุ้นเคยดีคือ อ.เฉลิมชัย จิตรกรไทยระดับโลกผู้เนรมิตรวัดร่องขุนสุดอลังการ เป็น landmark ของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ

ผมอยากให้สังเกตสีหน้า (Facial expression) ของอาจารย์ท่านสักหน่อย และโยงมาถึงเรื่องบุคลิกภาพ

สิ่งที่น่าสนใจของภาพท่านอาจารย์คือสีหน้า จุดที่อยากให้สังเกต หรือ ปากและตา

ปาก จะพบรอยยิ้มที่มุมปากยกไม่เท่ากัน (Unilateral corner of mouth raise) ฝรั่งจะเรียกว่า Smug Smile คำไทยจะใช้คำว่าแสยะยิ้ม

ยิ้มชนิดนี้ไม่ใช่รอยยิ้มแห่งความสุข (true smile) และไม่ใช่การยิ้มตามมารยาทที่ต้องแสดงเพราะบริบทของสังคม (sincere smile/polite smile) แต่เป็นการยิ้มด้วยอารมณ์ที่เรียกว่า Comtempt (แปลเป็นไทยตรงตัวคือ ดูถูก)

ส่วนตา จะพบว่าเปลือกตาจะหรี่กว่าปกติ กล้ามเนื้อรอบดวงตาจะ relax คือผ่อนคลาย ไม่มีการหดเกร็ง และเมื่อลักษณะที่ปรากฎของทั้งตาและปากรวมกัน จะครบองค์ประกอบของสีหน้า (Facial expression) ที่ชื่อ Contempt ซึ่งเป็นสีหน้าที่ Paul ekman ได้ทำงานวิจัยและค้นพบว่าเป็นหนึ่งใน 6 สีหน้าที่เป็นสากล (Universal)

สีหน้าของ Contempt จะสัมพันธ์กับห้วงอารมณ์ของการดูถูก เยาะเย้ย การที่ตนรู้สึกเหนือกว่า หรือ สูงส่งกว่า (superiority) และพบได้บ่อยควบคู่กับอารมณ์เกลียด (Disgust)

ประเด็นที่น่าสนใจคือ มีคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจารย์เฉลิยชัย มักพบภาพถ่ายที่แสดงสีหน้าคล้ายแบบนี้บ่อย … ส่วนนี้บอกอะไรเราได้บ้าง ?

ผมคิดว่าสิ่งนี้สามารถอธิบายได้ในเชิงของบุคลิกภาพและ Baseline

คนเราทุกคนจะมีบุคลิกของตนเองเฉพาะตัว (persona) ใครที่มีอารมณ์อะไรเป็นพื้นฐานก็จะมีสีหน้าแบบนั้นเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว (Baseline) เช่น บางคนขี้โมโหใจร้อน หน้าตาก็จะดูหงุดหงิดแม้จะอยู่เฉยๆ

ในตัวอย่างเคสอาจารย์เฉลิมชัย ท่านจะมีสีหน้าและบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์ที่เราคุ้นเคย โดยเฉพาะสีหน้าที่คล้าย Contempt จะเห็นบ่อย แม้แต่ภาพถ่ายที่คัดเลือกเพื่อเป็นตัวแทนท่านก็เลือกใช้ภาพที่มีสีหน้าของ Contempt อาจเป็นไปได้ว่าเป็น Baseline ของเขา

สรุป

คนเราคิดอะไร รู้สึกยังไงบ่อยๆ จะกลายเป็นความคุ้นชินและขยับมาสู่เป็นนิสัย จนกลายเป็นบุคลิกภาพของคนๆนั้น เมื่อใดบุคลิกภาพได้ก่อตัวจนสมบูรณ์แล้ว ในทางทฤษฐีส่วนใหญ่บอกว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงอีกต่อไปและคงอยู่เช่นนั้นชั่วชีวิต (remained through life)

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ

ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฏในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *