หลังจากข่าวอื้อฉาวของคุณฌอน เกี่ยวกับเงินรับบริจาคจากกรณีไฟป่าที่เชียงใหม่เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 คุณฌอนไม่สามารถแสดงข้อเท็จจริงให้กับสังคมนอกจากการพูดขอโทษ ทำให้คุณฌอนหมดความนิยมลงไปมากและจวบจนบัดนี้ตัวคุณฌอนเองก็ไม่สามารถสลัดภาพลักษณ์ที่สังคมมองว่ายักยอกเงิน
ทุกวันนี้คุณฌอนก็ยังเดินหน้าทำ content ลง youtube ดังที่เคยทำมาตลอดและคดีความก็ไม่มีข่าวคราวใดๆถึงความคืบหน้า เหมือนจู่ๆก็หายไปเลย
แต่ถ้าย้อนไปก่อนหน้าคดียักยอกเงิน จะเป็นยุคสมัยที่คุณฌอนถือว่ามีชื่อเสียง เขาก็จะได้รับเชิญออกรายการสัมภาษณ์หลากหลายรายการรวมถึงในรายการ One Night Story ของน้าเน้ก เกตุเสพย์สวัสดิ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา ที่ปรากฎข้างต้น
มีนักเรียนของผมอยากให้ช่วยวิเคราะห์ภาษากายของคุณฌอนในคลิปนี้เมื่อเขาเล่าอดีตของเขาที่ต่อยมวย ติดคุกและทำงานเป็นบอดี้การ์ด ผมพบว่ามีประเด็นที่น่าเรียนรู้หลายอย่างจึงนำเอามาเรียนรู้ร่วมกันครับ
ภาษากายคือข้อมูลที่สื่อสารออกมาจากมนุษย์ทุกอย่างนอกเหนือจากคำพูดทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว จึงเป็นชุดของข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้ตีความว่าส่วนตัวเราจะให้ระดับความความเชื่อถือกับเหตุการณ์ที่ปรากฎอย่างไรเท่านั้น การวิเคราะห์ภาษากายจึงไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสินว่าใครโกหกหรือหลอกลวง
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์
นาที 10:41 ในจังหวะที่ฌอนเล่าว่าตัวเองเคยต่อยมวยและหมอต้องสั่งหยุดเพราะเริ่มมีปัญหาทางสมอง เขาก็เล่าต่อถึงสภาพอาการของเขา
“ขับรถแล้วเจอถนนไม่ดี ผมจะปวดหัวทันทีเลย (*)”
ในจังหวะ (*) ฌอนได้แสดงภาษากายสองอย่าง
- มือขึ้นมาจับหน้า (Touch face) มือเช็ดจมูก (Hand Touching nose) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ (Psychological discomfort) จะพบได้บ่อยในกรณีที่พูดสิ่งที่ลำบากใจ เช่น โกหก ปกปิด พูดความจริงไม่ครบ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากการสัมผัสจมูกออกจากการ เช็ด หรือ ขยี้จมูกเพราะเป็นภูมิแพ้ หรือ แพ้อากาศ รวมถึง Baseline ของผู้พูดร่วมด้วย
- หลบสายตา (Diminished eye contact) พบบ่อยเวลาคนที่เกิดความลำบากใจที่จะตอบ เช่น กำลังปกปิด โกหก หรือลำบากใจที่จะพูดเช่นทำความผิดไว้ ละอาย หรือไม่อยากตอบ ถือเป็น non-specific body language ที่ต้องตีความร่วมกับองค์ประกอบอื่นร่วม รวมถึงการมองไปในทิศทางอื่นเพราะกำลังคิด
นาที 11:05 เป็นจังหวะที่ฌอนเล่าให้ฟังว่าเคยติดคุกและต่อมาก็รับงานบอดี้การ์ด
“ผมก็เลยรับงานที่เป็นบอดี้การ์ด อะไรแบบนี้ (*)”
เขาแสดงภาษากายออกมาสองอย่างในจังหวะ (*) ดังนี้
- ลิ้นงู (Loose tongue jut) เป็นภาษากายมักพบบ่อยเวลากำลังคิดหรือกำลังพูดในสิ่งที่ตนทำไว้ไม่ดี พบได้บ่อยในคนที่กำลังโกหก ปิดบัง หรือเล่าความจริงไม่ครบ เติมแต่ง (ซึ่งล้วนก็เข้าข่ายการโกหกแบบหนึ่ง) หรือการพูดความจริงแต่เป็นสิ่งที่ตนเองทำไม่ดีเอาไว้ ทั้งนี้ต้องแยกแยะให้ออกกับการเลียริมฝีปากเพราะปากแห้ง
- หลบสายตา (Diminished eye contact) พบบ่อยเวลาคนที่เกิดความลำบากใจที่จะตอบ เช่น กำลังปกปิด โกหก หรือลำบากใจที่จะพูดเช่นทำความผิดไว้ ละอาย หรือไม่อยากตอบ ถือเป็น non-specific body language ที่ต้องตีความร่วมกับองค์ประกอบอื่นร่วม รวมถึงการมองไปในทิศทางอื่นเพราะกำลังคิด
นาที 11:24 ช่วงที่เล่าถึงชีวิตการเป็นบอดี้การ์ดและอธิบายการแต่งกาย ในประโยค “แล้วผมจะรู้สึกภูมิใจ (*)มาก เพราะว่า…”
จะพบ มือเช็ดจมูก (Hand Touching nose) จากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ (Psychological discomfort) จะพบได้บ่อยในกรณีที่พูดสิ่งที่ลำบากใจ เช่น โกหก ปกปิด พูดความจริงไม่ครบ ทั้งนี้จะต้องแยกออกจากการสัมผัสจมูกออกจากการ เช็ด หรือ ขยี้จมูกเพราะเป็นภูมิแพ้ หรือ แพ้อากาศ รวมถึง Baseline ของผู้พูดร่วมด้วย และในจังหวะเดียวกันก็จะพบ Diminised eye contact
นาที 13:21 เป็นจังหวะที่เล่าการทำงานเป็นบอดี้การ์ด
“พอเขาเข้าไปในห้องแล้วก็ลากผู้หญิงออกมา ลากผู้หญิงออกมา(*) แล้วก็แบบ” จะพบภาษากายของการสัมผัสในหน้าและหลบตา ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น
นาที 13:32 ฌอนเล่าว่า “มีคนกำลังโทร (*) โทรเรียกตำรวจ” ก็ได้ใช้มือขึ้นมาบีบจมูกตัวเอง ถือว่าเป็นภาษากายกลุ่ม Hand touching face เช่นกัน แต่ท่านี้จะเป็นการบีบจมูก (Nose Pulled) เป็น Alpha upright ทำให้รู้ว่าผู้พูดมีความมั่นใจที่ตกลงและต้องการดึงมันกลับขึ้นมา
สรุป
ฌอนแสดงภาษากายกลุ่มที่เกี่ยวกับการสัมผัสใบหน้าหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจับจมูก คาง ปาก ร่วมกับการหลบตาโดยเฉพาะในจังหวะที่เล่าเรื่องราวชีวิตที่ไปรับจ้อบเป็นบอดี้การ์ด
เท่าที่ผมตามอ่าน comment ในโซเชี่ยว หลายคนตั้งข้อสงสัยในเรื่องนี้เพราะฟังดูเป็นเรื่องแต่งมากกว่าเรื่องจริง ซึ่งจะจริงจะเท็จคนที่ทราบคงมีแต่เจ้าตัว
คำพูด เป็นสิ่งที่เราจะดัดแปลงอย่างไรก็ได้ตามที่เราต้องการ แต่ภาษากายเป็นสิ่งที่ปกปิดยากและดัดแปลงไม่ได้
คุณดู VDO นี้แล้วมีความเห็นกันยังไงบ้างครับ ?
ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น