จากดราม่า Club House ที่มีคนกลุ่มหนึ่งเปิดกลุ่มคุยโดยมีการสนทนาแลกเปลี่ยนในลักษณะดูถูกเหยียดหยามคนอีสาน จนเกิดเป็นกระแสแรงในโซเชี่ยวมีเดีย และเป็นที่มาของการเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาออกรายการในโหนกระแส
หลายๆคนที่ได้รับรายการโหนกระแสเมื่อวานที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ตามวีดิโอที่แสดงข้างต้น และคงคาดหวังว่าจะได้เห็นน้องแพน แสดงท่าทาง คำพูดและภาษากายของความเสียใจ รู้สึกผิด หรือการขอโทษที่จริงใจ แต่หลายคนบอกว่าดูไม่จริงใจ ดูไม่ได้รู้สึกผิดหรือเสียใจเลย ตรงกันข้ามยังมีบางจังหวะที่หัวเราะด้วยซ้ำ เช่น
14:20 ตอนที่คุณหนุ่มพูดขึ้นว่า พูดง่ายๆก่อนที่จะไปกล่าวหาคนอีสานฯให้เอาหมาออกจากปากตัวเองเสียก่อน แล้วน้องแพนหัวเราะออกมา
29:14 คุณหนุ่มถามน้องแพนว่า รู้สึกสลดไหม (กับสิ่งที่ทำ) เจ้าตัวบอกรู้สึก แต่ภาษากายไม่ได้แสดงสิ่งใดที่ชัดเจน ส่วนหนึ่งเพราะแมสที่ใส่บดบังใบหน้าเกินครึ่ง
บทวิเคราะห์
ในมุมที่ผมมอง การที่น้องเขาไม่ได้มีภาษากายใดๆที่รู้สึกผิดที่ชัดเจน อาจเป็นเพราะเขาไม่ใช่ตัวการ หรือ ผู้นำกลุ่ม
น้องแพนเป็นคนที่มาทีหลังและอยู่ในกลุ่ม บวกกับตัวเขาเองก็บอกว่าไม่เคยพูดด่าเพียงแต่บังเอิญไปร่วมฟังและอยู่ร่วมด้วยเท่านั้น
ลักษณะนี้เราพบบ่อยในคนที่กระทำความผิดเป็นกลุ่มก้อน หรือมีหลายๆคนเกี่ยวข้อง ที่มีตัวบงการและผู้สนับสนุน เช่น มีคนหนึ่งดูต้นทาง อีกคนหนึ่งเข้าไปยิงคู่อริ คนที่ดูต้นทางย่อมรู้สึกผิดน้อยกว่าคนที่ลงมือยิง ส่วนคนที่ลงมือยิง ถ้าเขาเกลียดที่ตายและคนที่ตายนั้นก็เคยกระทำอะไรที่ไม่ดีกับเขามาก่อนในอดีต ความรู้สึกได้แก้แค้นจะทำให้เขารู้สึกผิดน้อยลง เพราะลึกๆในใจมันก็เป็นการหักล้างกันทางความรู้สึก ด้วยมุมมองว่าคนตายได้รับกรรมที่สาสมแล้ว
เคสนี้ เจ้าตัวก็พูดในต้นรายการตั้งแต่แรก ว่าเขาไม่ใช่ตัวการ ไม่ใช่คนพูด แต่ที่มาออกรายการก็เพียงเป็นหนึ่งในตัวแทนที่มาเล่าถึงความเป็นต่างๆเสียมากกว่า
จึงไม่แปลกที่น้องแพนจะไม่มีภาษากายของการรู้สึกผิด หรือ เสียใจอะไรขนาดนั้น รวมถึงการหัวเราะในนาทีที่ 14:20 เพราะเป็นไปได้ว่าน้องแพนมองว่าคนที่พูดหมาๆ มันไม่ใช่เขา เขาจึงไม่ได้รู้สึกว่าถูกตำหนิและรู้สึกตลกด้วยซ้ำ อีกประเด็นที่น่าสนใจคือบุคลิกภาพของน้องเขาเองที่อาจจะเป็นแนว Irrelevant ที่เจ้าตัวก็พูดในรายการว่า “หนูเป็นคนแบบนี้อยู่แล้ว” คือง่ายๆสบายๆ stay chill จนบางทีผิดบริบท (Out of Context)
เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ที่กระทำผิด ไม่ได้ตัวการหลัก หรือไม่ใช่คนที่สร้างความผิดนั้นไว้อย่างชัดเจน แต่อาจเป็นแค่คนหนึ่งคนที่มีส่วนร่วมเล็กๆในความผิดทั้งหมด ก็ย่อมเป็นไปได้ที่จะไม่เห็นภาษากายของการขอโทษ สารภาพผิด หรือรู้สึกผิด จึงต้องแยกออกจากคนที่ได้กระทำผิดจริงแต่ไม่รู้สึกผิด
ขอให้สนุกกับการเรียนรู้ครับ
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)