กุมภาพันธ์ 5, 2021

ถอดรหัสภาษากาย เคสที่ 4 : คุณ สุวิทย์ เมษินทรีย์ – Head shaking – ทำไมต้องส่ายหัวเมื่อพูดถึงคุณประยุทธ์ จันทร์โอชาและพรรคตัวเอง

เลือกตั้งปี 62 พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อ คุณประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี บทสัมภาษณ์นี้ คุณ สุวิทย์ เมษินทรีย์ ตอบคำถามหลายเรื่องเกี่ยวกับพรรค

ทุกคนล้วนทราบดีว่าพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคเกิดใหม่ มีคำโจมตีมากมายในสังคมว่าเป็นพรรคที่สร้างขึ้นเพื่อสืบทอดอำนาจของคุณประยุทธ์ และตัวคุณประยุทธ์เองก็มีความนิยมที่ลดลงเรื่อยๆนับตั้งแต่เป็นนายกรัฐมนตรีจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจ

น่าสนใจว่า คุณ สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่มีตำแหน่งเป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ จะพูดถึงคุณประยุทธ์ยังไง ? จะพูดถึงตัวพรรคยังไง ?

แน่นอนว่าเราจะไม่ได้ฟังเฉพาะคำพูดที่ให้สัมภาษณ์ แต่เราจะดูทั้งสีหน้า ท่าทาง โทนเสียง ประกอบรวมกัน

เพราะคำพูดเป็นองค์ประกอบที่น้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำเสียงและท่าทาง (กฎ 7-38-55 ของ Albert Mehrabian )

บทเรียนตอนที่ 5 นี้จะได้เห็นความไม่สอดคล้องกันของภาษาพูด และ ภาษากาย ของ คุณ สุวิทย์

ถอดรหัสภาษากาย คุณ สุวิทย์ เมษินทรีย์

ผมทำสัญลักษณ์ดอกจันทร์ (*shake) คือ จังหวะที่ คุณสุวิทย์ เมษินทรีย์ ส่ายหน้า (shake one’s head)

เป็นการส่ายหน้าแบบเวลาที่คนเราพูดว่า ไม่ ไม่เอา ไม่ชอบ

นาที 1:23  “อย่างน้อย (*shake) เราคิดนอกกรอบในความเชื่อว่า ถ้าเราเป็นพรรคในทางเลือกใหม่ เราเป็นพรรคที่มองอะไรยาวๆ” 

นาที 1:38  “(*shake)เราก็มีคนหนุ่มสาวกว่าเกือบร้อยคนที่เห็น”

นาที 1:44 “ณ วันนี้ (*shake)  ก็ถือว่าเป็นประชารัฐจริงๆนะครับ” 

นาที 2:04 “(*shake)ผมเสนอท่านประยุทธ์อยู่แล้ว”

นาที 7:43  “เออเห้ย มาช่วยกันอีกสักตั้งนึง (*shake) ท่าน(ประยุทธ์)ก็มาในโหมดประชาธิปไตยแล้ว”

การส่ายหน้าในแต่ละครั้งเกิดขึ้นสั้นมากๆ ถ้านั่งคุยกันตัวเป็นๆอาจจะสังเกตไม่ทัน การจะสังเกตเห็นภาษากายที่ละเอียดแบบนี้จะต้องวิเคราะห์ผ่าน VDO เท่านั้น

ในหนังประเภทสืบสวนของฝรั่งเรามักจะคุ้นตาฉากเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบปากคำผู้ต้องหาในห้องสีดำที่มีกระจกมองออกได้ด้านเดียว และมีกล้องวีดิโอบันทึกผู้ต้องหาตลอดการสอบปากคำ ก็เพื่อเอามาวิเคราะห์คำพูดและภาษากายภายภาคหลัง

ในบทเรียนนี้ จาก VDO จะพบความไม่สอดคล้อง (Contraditory) ของการส่ายหน้ากับคำพูด

หลายครั้ง โดย คุณ สุวิทย์ จะส่ายหน้าก่อนพูดถึงตัวพรรค กิจกรรมของพรรค และเมื่อพูดชื่อ คุณ ประยุทธ์ จัทนร์โอชา

แล้วมันแปลว่าอะไรได้บ้าง ?

การสายหน้าระหว่างตอบสัมภาษณ์บ่งบอกได้ว่าคนพูดเขากำลังคิด หรือ รู้สึกอะไรบางอยู่ เช่น

  • ไม่มั่นใจในสิ่งที่จะต้องตอบ
  • ไม่ได้ตอบตามความจริงในใจ
  • ไม่ชอบคำถามที่ถูกถาม
  • ไม่ชอบคนที่มาสัมภาษณ์
  • รู้สึกอึดอัด

ถ้าเราพิจารณากันลึกๆ และลองตั้งขอสงสัยดูว่า ทำไมคุณสุวิทย์ถึงไม่พยักหน้าละ ?

เพราะแต่ละประโยคเป็นการพูดเชิงสนับสนุน ส่งเสริม เป็นประโยคเชิงบวกทั้งสิ้น เช่น นาที 2:04 “(*)ผมเสนอท่านประยุทธ์อยู่แล้ว” การส่ายหน้าย่อมขัดแย้งกับคำพูด เพราะการส่ายหน้าเป็นการแสดงออกทางลบก็ไม่มีเหตุผลที่ร่างกายจะต้องแสดงออกมาเมื่อพูดประโยคเชิงบวก

นอกจากเสียว่าในใจลึกๆของคุณ สุวิทย์ อาจจะมีความขัดแย้งกันเอง และตีรวนกันอยู่ในสมองจนร่างกายแสดงท่าทางและคำพูดที่ไปคนละทิศทาง (unsynchronize) โดยเฉพาะเมื่อพูดถึง พูดถึงตัวพรรค กิจกรรมของพรรค และเมื่อพูดชื่อ คุณ ประยุทธ์ จัทนร์โอชา

ผมเชื่อว่าหลายท่านคงอยากถามว่า การส่ายหน้าแบบนี้ถือว่า คุณ สุวิทย์ โกหกหรือไม่ ?

คำตอบคือ เราจะไม่ใช้ภาษากายในการจับโกหกแบบฟันธง แต่จะเอามาใช้เพื่อประกอบหลักฐานว่านอกจากคำพูดแล้วยังน่าจะมีอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลังหรือไม่ อย่างไร (Matsumoto 2010) ส่วนเราในฐานะผู้รับชมก็จะต้องใช้วิจารณญาณเองว่าจะให้ระดับความน่าเชื่อถือเพียงใดกับสถานการณ์ที่เห็น

คำถามประจำบทเรียน

คุณคิดว่า คุณสุวิทย์ รู้สึกเหมือนที่คำที่พูดออกมาหรือไม่ ?

ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ

หมอมด (ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์) 

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น บุคคลอ้างอิงในเวปไซด์จะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube) เป็นต้น การตีความและอธิบายภาษากายไม่มีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนในเชิงการเมือง หรือ มีจุดประสงค์ที่จะละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

You may also like...

2 Responses

  1. มีนาคม 23, 2021

    […] ท่าทางเป็นสิ่งที่คนเรามักไม่ค่อยได้ระวัง และมันจะออกมาจากสมองส่วนกลางโดยอัตโนมัติ ผมมีเคสของนักการเมืองที่สนับสนุนคุณประยุทธ จันทร์โอชา ให้เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ระหว่างที่พูดดันส่ายหัวไปด้วย เรียกว่าพูดประโยคเชิงบวกแต่ตัวเองกลับส่ายหน้าอย่างขัดแย้งและน่าสนใจเรียนรู้ ลิ้ง […]

  2. กรกฎาคม 7, 2021

    […] […]

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *