เมื่อใดก็ตาม นายกรัฐมนตรี คุณประยุทธ์ จันทร์โอชา ไปร่วมประชุมต่างประเทศเขามักจะมีภาษากายที่แตกต่างกับเวลาอยู่เมืองไทยมาก หลายคนที่สังเกตแม้จะไม่มีความรู้ด้านภาษากายก็พอจะดูออกว่าท่านมีการแสดงออกคล้ายว่ามีอาการประหม่า ตื่นเต้น กลัว และวิตกกังวล
เพราะงานนี้จัดที่ต่างประเทศ ท่านนายกเราก็ไม่ใช่คนที่ใช้ภาษาอังกฤษได้ถนัดนัก(คนไทยส่วนใหญ่ภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ดีอะไรกว่านายก) จึงเป็นข้อจำกัดในการสื่อสารจะเห็นการขึ้นพูดสปีช (Speech) บนเวทีท่านก็ใช้ภาษาไทยเป็นประจำ ถ้าพิจารณาด้วยเหตุและผล ก็ย่อมไม่แปลกที่งานนี้นายกจะรู้สึกกลัวและประหม่า
พอดีมีคนตั้งข้อสงสัยในภาพที่ปรากฎเป็นภาพที่ Capture มาจากลิ้งข่าวของเวปไซด์มติชน ลิ้ง เคสนี้คือช่วงแรกของวีดิโอเป็นภาพนายกเดินเข้างาน และท่านก็มองหันข้างกลับมาเพื่อดูผู้ติดตามอย่างชัดเจน ดังภาพข้างบน
คำถามที่แฟนคลับถามมาคือ ในสถานการณ์นี้อธิบายในศาสตร์ของภาษากายได้อย่างไรบ้าง ?
ผมขอออกความเห็นดังนี้ครับ
การที่คนเราเดินและหันหลังมองคนที่เดินมาด้วยกัน อาจแปลได้อย่างน้อย 3 อย่างคือ
1.เป็นห่วง (Care)
ยกตัวอย่างพ่อที่เดินเคียงคู่มากับลูกอายุ 6 ขวบ ถ้าไม่จูงมือกันเดิน จะพบว่าพ่อมักจะเดินก้าวยาวกว่าและในอัตราที่เร็วกว่า ทำให้เดินไปสักพักจะนำหน้าลูกที่ก้าวขาได้สั้นกว่า และถ้าเดินเริ่มห่างกันมากขึ้นจะทำให้พ่อต้องหันหลังกลับมามองดูลูกว่าเดินถึงไหน
อันนี้เป็นการมองกลับมาเพราะแคร์ เป็นห่วง และถ้าแคร์และเป็นห่วงมากๆเราอาจจะพบว่าพ่อจะไม่ยอมให้เดินทิ้งท้ายเด็ดขาด คือ จะเดินจูงมือ หรือ ปล่อยให้เดินนำหน้า ให้อยู่ในสายตา
2.รู้สึกไม่ปลอดภัย (unsafety)
ในสถานการณ์ที่เรากลัว และรู้สึกไม่ปลอดภัย คนเรามักจะอยากได้เพื่อน หรือ ใครสักคนมาอยู่ใกล้ๆเพื่อเพิ่มความมั่นใจ เช่น เพื่อน คนรู้จัก คนในครอบครัว หรือแม้แต่ลูกน้อง ดังที่เราได้ยินคำพูดไทยที่ว่า “ไปเป็นเพื่อนหน่อย” การที่นายกหันหลังกลับมาเช็คดูผู้ติดตามเป็นไปได้ว่ารู้สึกไม่ปลอดภัย
ถ้าให้เลือกข้อใดข้อหนึ่งในกรณีคุณประยุทธ์ผมคิดว่าน่าจะเข้าข่ายข้อ 2
แต่ทั้งนี้ผมยังมีมุมมองเพิ่มเติมคือข้อ 3
3.เดินเร็ว
จากที่ผมเองก็เห็นวีดิโอและติดตามคุณประยุทธ์มานานหลายปีผ่านสื่อต่างๆ คุณประยุทธ์จะเป็นคนที่มีบุคลิกเดินเร็ว และเดินนำหน้าแบบไม่รอใคร สิ่งนี้เป็นบุคลิกส่วนตัว (Baseline behavior) ของคุณประยุทธ์ เพราะแม้แต่ในวีดิโออื่นๆที่เขาออกงานกับภรรยาเขาก็เดินเร็วและเดินนำไปเลยเช่นกัน
เพราะฉะนั้นถ้ามองว่าเหตุการณ์ที่เกิดในวีดิโอ เป็นเพียงบุคลิกตามธรรมชาติของท่านนายกเท่านั้นที่เดินเร็ว และพอเดินนำหน้ามากไปหน่อยก็เลยอยากหันกลับมามองลูกน้องที่ติดตามมาด้วยกันก็เท่านั้น
แง่มุมนี้ผมคิดว่ามีน้ำหนักมาก จึงเป็นไปได้ทั้งข้อ 2 และ 3 เท่าๆกันเลย
สรุป
ในการอ่านภาษากายให้แม่น เราต้องไม่ลืมที่จะพิจารณา Baseline Behavior ของเคสนั้นด้วยเสมอ เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะทำให้เราวิเคราะห์ผิดได้ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้และมีโอกาส เราต้องไม่ลืมที่จะทราบ Baseline ของเขาเสมอครับ
ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น