คุณอนุทิน ชาญ วีรกุล ถูกตั้งคำถามมากมายถึงประสิทธิภาการทำงาน ความโปร่งใส และความเป็นธรรมในการกระจายวัคซีนเพราะมีประเด็นปรากฎในสื่อสังคมเป็นจำนวนมาก รวมถึง VVIP ที่ได้ไฟเซอร์แต่โรงพยาบาลหลายแห่งยังได้วัคซีนไม่ครบตามโควต้าที่ควรจะได้และอีกสารพัดประเด็น ทำให้ นพ.ทศพร เสรีรักษ์ และกลุ่มแพทย์ฯ ได้ขอเข้าพบเพื่อสอบถามข้อสงสัย
บทเรียนนี้เราจะได้เห็นภาษากายของคุณอนุทิน ชาญวีรกุล เมื่อต้องตอบคำถามในประเด็นที่ถูกตั้งข้อสงสัยต่างๆ และเนื่องจากทุกคนใส่ Mask กันหมดจึงทำให้การอ่านภาษากายจะทำได้ไม่ครบอย่างที่ควรจะเป็น แต่ทั้งนี้ก็มากพอที่เราจะเห็นอะไรที่อยู่ในระดับจิตใต้สำนึกซึ่งแสดงออกมามากกว่าเพียงคำพูด
นาทีที่ 52:53 นายอนุทินตอบหมอขวัญประเด็นถ้าไม่ได้วัคซีนไฟเซอร์ตามสัญญา
นาทีที่ 52:53 คุณอนุทินพูดว่า : ถ้าไฟเซอร์ไม่ส่งมาอีกตอนไตรมาศสี่อีก 32.5 เราก็ต้อง (*) ฟ้องเรียกค่าเสียหาย ซึ่งในสัญญาก็บอกว่า (**) อ่า ฟ้องได้ แต่จะชนะหรือเปล่า ไม่รู้ แต่ไม่เป็นไร เราทำตามสัญญาอยู่แล้ว
ในจังหวะ (*) ให้สังเกตรอยย่นที่หน้าฝาก (Center forehead contraction) ตาตรี่และหางตายกขึ้น และเดาไม่ยากว่าบริเวณครึ่งหน้าล่างใต้ผ้าแมสน่าจะเป็นการยิ้ม (จุดนี้ที่ทำให้ผมอ่านภาษากายได้เพียงแค่ครึ่งเดียวเพราะ mask ปิดอยู่) ซึ่งการยิ้มที่ขัดกับบริบทนี้ (Smiling out of context) ไม่ใช่ยิ้มอย่างมีความสุขจริงๆ (true smile / Duchen smile) แต่อาจเป็นแสยะยิ้ม (Smug smile) ซึ่งจะเป็นการยิ้มเพื่อแสดงออกถึงความเหนือกว่า (Superiority)
การวางแขนและท่านั่งเป็นสิ่งที่น่าสังเกตุ
- เอาแขนก่อน คุณอนุทินเป็นคนถนัดขวา และเอาแขนตั้งขึ้นวางบนโต๊ะโดนใช้ข้อศอกยันไว้กั้นระหว่างตัวเขาและกลุ่มแพทย์ (Arm Blocking) แขนที่ใช้กั้นนี้เป็นอัตโนมัติ เพราะจิตใต้สำนึกกำลังรู้สึกว่าถูกรุกรานและต้องการหนี (แต่กรณีนี้หนีไม่ได้ ต้องทนฟังและตอบคำถามต่างๆ) ร่างกายจึงตอบสนองด้วยการหาอะไรมากั้นไว้ (Blocking / Defensive gesture) เพื่อให้ตัวเองรู้สึกปลอดภัย หรือ กั้นตัวเองจากสิ่งที่เราไม่ชอบ ทั้งนี้คนแต่ละคนจะแสดง Blocking ออกไม่เหมือนกัน เช่น กอดอก ใช้มือบังหน้า กอดกระเป๋า หรือ เอามือปิดปากเท้าคาง ฯลฯ
- คุณอนุทินไม่ได้หันลำตัวไปทางผู้สนทนา (หมอทศพร หมอขวัญ) ซึ่งอยู่ด้านขวาของคุณอนุทิน แต่เขากลับนั่งเอียงไปทางซ้าย (Tilted left) ซึ่งลูกน้องของเขานั่งอยู่ ได้แก่ ท่านปลัด หมอโอภาส และคณะทำงานอื่นๆ ท่านั่งเอียงเพื่อหนีคู่สนทนานี้ก็สอดคล้องกับ arm blocking ที่ผมเกริ่มมาด้านบน คือต้องการหนีไปจากสถานการณ์นั้น และเลือกที่จะนั่งหันไปทิศที่เรารู้สึกปลอดภัยกว่า จะเรียกว่าไม่กล้าสู้หน้า ไม่กล้าสู้ตัว ก็ไม่ผิด และคุณอนุทินก็นั่งท่านี้เกือบตลอดเวลาที่ปรากฎใน VDO
ในจังหวะ (**) เมื่อพูดถึงการฟ้อง บริษัทผู้ผลิตไฟเซอร์ถ้าส่งของไม่ตามสัญญา คุณอนุทินหงายมือขึ้น (Palm up) และนิ้ววางตัวหลวมๆ ทิ้งห่างจากลำตัวและแกว่งมือเล็กน้อย ถ้าสังเกตที่ตาจะเดาได้ว่ายังยิ้มอยู่ อยากย้ำเสมอว่าการยิ้มในบริบทที่ซีเรียสและเป็นทางการ (Official) มันสามารถแสดงความรู้สึกใจในของเขาได้อย่างดี ภาษากายสองอันนี้รวมกันแสดงถึงความรู้สึกไม่สนใจ ไม่แคร์ (i don’t care) หรือไม่ให้ความสำคัญ (minimize the situation) หรือเป็นการเฉไฉเพื่อเลี่ยงประเด็น (Deviation)
การยิ้มที่ขัดกับบริบท (Smiling out of context) เป็นสัญญาณที่ดีเสมอที่เราจะดูภาษากายที่แวดล้อมกันและพิจารณาร่วมเป็นกลุ่มก้อน (Cluster)
นาที 56:04 -56:13 จังหวะที่คุณอนุทินตอบประเด็นความโปร่งใสเกี่ยวกับวัคซีน
อนุทิน : เราทำทุกอย่างให้เกิดความโปร่งใส … เรื่องโปร่งใส วัคซีนนี้ ขอยืนยันว่าโปร่งใสแน่นอน (**)
นาที 56:04 -56:13
การหลบสายตาผู้ที่สนทนา (Diminished eye contact) มีหลายแบบ เช่น การหลับตา การกระพริบตาถี่ การกระพริบตานาน (Long duration of blinking) การหาอะไรมาบังตา หรือ การหลบเลี่ยงที่จะมองคู่สนนา
จังหวะนี้คุณอนุทินพูดคำว่า “โปร่งใส” ทั้งหมด 3 ครั้งต่อๆกัน และทุกครั้งที่พูดเขาไม่เคยหันไปทางกลุ่มแพทย์ที่มาถามเลย แต่มองมาทางด้านหน้าเฉียงไปทางซ้ายซึ่งเป็นที่นั่งของคณะทำงานของเขาแทน เขาหลบตาคู่สนทนาตลอดเมื่อพูดถึงกรณีความโปร่งใส่
การพูดคำว่าโปร่งใสบ่อยๆ (Over Remark) อาจเพราะคำนี้เป็น keyword ที่เขาต้องการย้ำและเน้นเพื่อให้อีกฝ่ายเชื่อเพราะเป็นสิ่งที่นายอนุทินต้องการให้เป็นอย่างนั้น ทั้งนี้ภาษากายซึ่งในที่นี้คือการหลบสายตาทำให้เรารู้ว่าเขาไม่ได้รู้สึกแบบนั้น
ความขัดกันของคำที่พูดและภาษากาย สามารถอธิบายด้วยทฤษฐีการรับรู้ที่ไม่ลงรอย (cognitive dissonance) อีกเคสที่ชัดคือ เคสที่34 ศ.พญ.กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ
นาทีที่ 1:04:10 – 1:04:40 ถูกถามเรื่องทหารได้วัคซีน แต่ รพ.ใหญ่ๆกลับได้แค่ 60%
มาถึงประเด็นสำคัญคือ ทำไมนายทหารบางคนที่จังหวัดเลยได้ไฟเซอร์ทั้งที่โรงพยาบาลเพิ่งตั้ง แต่เทียบกับบางโรงพยาบาลที่จัดตั้งมานานแล้วและมีขนาดใหญ่กลับได้แค่ 60%
ตลอดช่วงเวลา 30 วินาทีนี้ คุณอนุทินหลบตาคนถาม (Diminished eye contact) และยกสร้อยข้อมือขึ้นมาแกะเล่น ท่าทางคล้ายๆจะปรับแต่ก็ไม่ใช่ (false bracelet adjustment) การแคะๆแกะๆสร้อยข้อมือเป็นกลไกของร่างกายเพื่อปลอบประโลม (Pacifiying behavior : Ref-Joe Narrano)
การปลอบประโลม จะเกิดเมื่อเจ้าตัวรู้สึกว่ามีภัย ถูกคุมคาม หรืออยู่ในสภาวะเครียด ร่างกายเราต้องการปลอบตัวเราให้หายจากอารมณ์ลบ (Negative feelings) ซึ่งสามารถแสดงออกมาเป็นภาษากายได้หลายรูปแบบ เช่น ลูบนิ้ว คลึงมือ ลูบนาฬิกา จัดเน็คไทด์ ซึ่งที่เห็นในเคสนี้จะเป็นการเล่นกับสร้อยข้อมือ และที่สำคัญเกิดขึ้นนานมากๆด้วย
แปลว่าประเด็นมีคนที่อ้างตัวเป็นด่านหน้าและได้วัคซีน คงเป็นประเด็นที่สำคัญและคุณอนุทินก็มีอารมณ์ด้านลบ (Negative feelings) ที่รุนแรงต่อคำถามนี้
การเล่นกับสายสร้อยข้อมืออาจจะไม่มีนัยยะสำคัญอะไร แต่พอเราเห็นบริบทแวดล้อม(Contex) และสถานการณ์ (Situation) สิ่งเล็กๆน้อยๆเหล่านี้จะกลายเป็นภาษากายที่มีความหมายทันที
นาที 1:14:06 – 1:14:16 ช่วงที่พูดถึงการจัดการวัคซีน
1:14:06 – 1:14:16 คุณหมอ : คือเริ่มต้นจากการที่โรงพยาบาลออกมาแถลงเป็นในนามของโรงพยาบาล (*) ซึ่งก็น่าเชื่อถือนะคะ โรงพยาบาลต่างๆที่ออกมาแถลงข่าวว่าวัคซีนไฟเซอร์ 60% 50% ท่านเติ่มตรงนี้ก่อนดีไหมคะ
ช่วงที่คุณหมอพูดโดยเฉพาะจังหวะ (*) จะสังเกตุภาษากายได้ดังนี้
- หลบตาโดยการมองไปทางซ้าย (Diminished eye contact) อธิบายไปข้างต้นแล้ว
- นั่งเอียงไปทางซ้ายหันออกจากคู่สนทนา (Tilting to the left side) อธิบายไปข้างต้นแล้ว
- มือขวาขึ้นมาจับสายผ้า mask เล่น (Hand playing with the mask) อันนี้เป็นพฤติกรรมกลุ่มเดียวกับการปลอบประโลม (Pacifying behavior)
สามภาษากายนี้จะสามารถตีความได้ว่าเขาไม่อยากอยู่ในสถานการณ์นี้ อยากหนีออกไปและกำลังทนอยู่กับอารมณ์ลบที่เกิด (Negative feelings)
สรุปการถอดรหัสภาษากายของ นายอนุทิน ชาญวีรกุลต่อสถานการณ์นี้
นายอนุทินมีภาษากายที่แสดงความวิตกกังวล และอึดอัดกับการสอบถามของกลุ่มแพทย์ โดยเฉพาะคำถามสำคัญ เช่น VVIP หรือทหารได้วัคซีนและการบริหารวัคซีน ซึ่งผมเดาว่านายอนุทินเองก็คงไม่สามารถตอบได้ตรงๆเพราะบริบททางการเมืองต่างๆ
ขอให้สนุกกับการเรียนรู้นะครับ
ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ (หมอมด)
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น สถานการณ์อ้างอิงเพื่อใช้ในการสอนจะคัดเลือกมาจากหลายวงการ เช่น นักการเมือง นักแสดง นักร้อง นักกีฬา นักธุรกิจ และบุคคลสาธารณะที่ปรากฎในสื่อสาธารณะ เช่น ข่าว รายการโทรทัศน์ งานแถลงข่าว สัมภาษณ์ รายการในยูทูป (youtube)ทั้งในและต่างประเทศ การตีความและอธิบายภาษากายทุกอย่างเพื่อการเรียนรู้และแสดงผ่านมุมมองของผม ว่าผมมีความเห็นอย่างไรต่อสถานการณ์เหล่านั้นเท่านั้น และไม่มีจุดประสงค์เพื่อหวังประโยชน์ด้านการเมือง หรือเพื่อละเมิดกับบุคคลใด กลุ่มการเมือง หรือ ศาสนาใด ทั้งสิ้น
เป็นไปได้ไหมว่า จะดูลึกไปถึง
ที่เขากลัวนั้นคิอเขากลัวในสิ่งที่เขาทำไว้เอง
หรือกลัวเพราะต้องมาออกหน้าแทนคนอื่น (ผู้ร้ายตัวจริง)
ในภาษากายวิเคราะห์ได้แค่เขามีความวิตกกังวล ตื่นเต้น และกลัวครับ บอกเป็นอารมณ์ (Emotion) ส่วนถ้าจะลงลึกว่า กลัวอะไร ตื่นเต้นทำไม อันนี้จะต้องดูหลักฐานหรือข้อมูลส่วนอื่นมาประกอบเพิ่มเติม เพราะฉะนั้นภาษากายจึงเป็นการวิเคราะห์ให้เห็น”ความรู้สึก” ของคนๆนั้นเท่านั้นครับอาจารย์ พวกฝรั่งใช้ศาสตร์นี้วิเคราะห์ในการสืบสวนด้วยแต่จะไม่เอามาใช้ Confirm หรือ diagnosis ขนาดนั้น
ชอบมากคับติดตามจาก ทวิตเตอร คับ